การศึกษาสภาพการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1

ผู้แต่ง

  • นงลักษณ์ ใจฉลาด คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
  • จารุวรรณ นาตัน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
  • ณิรดา เวชญาลักษณ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
  • นิคม นาคอ้าย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
  • อดุลย์ วังศรีคูณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

การส่งเสริมการดำเนินชีวิต, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ซึ่งการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 44 คนหัวหน้ากลุ่มสาระ จำนวน 353 คน รวม 397 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าสภาพการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\chi&space;\bar{}= 4.05) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงคือด้านความมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\chi&space;\bar{}= 4.08) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือด้านความมีเหตุผล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\chi&space;\bar{}= 3.99) และองค์ความรู้จากการวิจัย ในภาพรวม สถานศึกษาส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักยับยั้งชั่งใจในการอยากได้อยากมี ยึดถือความประหยัด ลดความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีวิต จัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนใช้ชีวิตอย่างพอควร พออยู่ พอกินสมควรตามอัตภาพ และฐานะของตน

References

กมล รอดคล้าย. (2558, 24 มกราคม). สพฐ.ประกาศขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้น 18 กันยายน 2563, จาก https://www.voicetv.co.th/read/158745

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: ที.เอส.บี. โปรดักส์.

ณรงค์ พิพัฒนาศัย. (2558, 23 มกราคม). สพฐ.ประกาศตั้งศูนย์ขับเคลื่อนสถานศึกษาพอเพียง. สืบค้น 18 กันยายน 2563, จาก https://mgronline.com/qol/detail/9580000008879

ธนิตา ลอยโพยม. (2552). การจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปณีตา ตะพังพินิจการ. (2555). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. กาญจนบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

เพ็ญศรี เปลี่ยนขำ. (2550). วิธีการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สุทธาการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554). กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา. (2542). เศรษฐกิจพอเพียง. วารสารมูลนิธิชัยพัฒนา, สิงหาคม, 48-49.

สุนทร พรหมดี. (2553). การพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ด้านการประหยัด โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนบ้านโคกงาม อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย).

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2549). หลักธรรมตามรอยยุคลบาท. กรุงเทพฯ: สุทธาการพิมพ์.

เสรี พงศ์พิศ. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงการพัฒนายั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พลังปัญญา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31