วิเคราะห์เดรัจฉานวิชาที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎก

ผู้แต่ง

  • พระครูวินัยธรสัญชัย ญาณวีโร (ทิพย์โอสถ) สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • เทพประวิณ จันทร์แรง คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • สุดใจ ภูกงลี สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธร

คำสำคัญ:

วิเคราะห์, เดรัจฉานวิชา, คัมภีร์พระไตรปิฎก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเดรัจฉานวิชาที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎก 2) วิเคราะห์เดรัจฉานวิชาที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร

ผลการวิจัยพบว่า 1) เดรัจฉานวิชาที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกทั้งในพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสห้ามให้พระสาวกเรียนหรือผู้ประกอบพิธีกรรม เพราะจะเป็นการหลอกลวงเป็นช่องทางให้ผู้ที่เจตนาไม่บริสุทธิ์ใช้วิชานี้ว่าเป็นหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาจะมีผลเสียหายต่อธรรมวินัยส่งผลให้คำสอนที่เป็นหลักการที่สำคัญที่สอนอย่างมีเหตุผล มีแนวทางคำสอนที่เป็นวิทยาศาสตร์สามารถพิสูจน์ได้ 2) ทัศนะของพระพุทธศาสนาที่ต่อมีเดรัจฉานวิชามีลักษณะประนีประนอม ในมุมมองของจิตวิทยาพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระอานนท์เรียนรตนสูตรเพื่อทำน้ำพระพุทธมนต์ให้กับชาวเมืองไพศาลีเพื่อขับไล่อมนุษย์ออกไปจากเมืองจนทำให้เมืองเกิดความสงบสุขจนประชาชนเกิดความเลื่อมใสน้อมนำเอาคำสอนของพระพุทธเจ้าไปแนวทางในการดำเนินชีวิต คำสอนของพระพุทธเจ้ามีหลายระดับแตกต่างกัน สาระสำคัญที่เป็นแกนกลาง การดำรงชีวิตอยู่ด้วยปัญญารู้เท่าทัน ไม่หลงงมงายตกเป็นทาสของกิเลสและความทุกข์ แม้อยู่ท่ามกลางกระแสสามารถทวนกระแสบางอย่างได้ มีชีวิตจิตใจที่เป็นอิสระ ควบคุมตนเองได้ ดังคำที่ว่า ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า ชีวิตของผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญา เป็นชีวิตที่ประเสริฐสุด

References

นิธิ วฒฺฑโณภิกขุ. (2516). พุทธประวัติฉบับนวกะ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ทำเนียบนายกสำนักนายกรัฐมนตรี.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรม (ฉบับเดิม) (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหธรรมิก.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบบประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ.

ม.กวีวงศ์. (2537). พุทธแบบไหน-อย่างไรเป็นพุทธ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ปัญญา.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2541). ธมฺมปทฏฺฐกถา สตฺตโม ภาโค (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2535). พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สุทธิพงษ์ ตันตยาพิศาลสุทธิ์. (2540). กฎระเบียบและคำสั่งของคณะสงฆ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

สุลักษณ์ ศิวรักษ์. (2537). โหราศาสตร์กับการพัฒนาประเทศไทย. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์.

สุวรรณ เพชรนิล. (2539). พุทธปรัชญาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

แสง จันทร์งาม. (2534). ศาสนศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

แสง จันทร์งาม. (2542). ศาสนศาสตร์ (The Science of Religion) (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

Kellet, E. E. (1954). A Short history of religion. London: victor gollancz.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30