การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสำนักงานศึกษาธิการภาค 10

ผู้แต่ง

  • นิจจารีย์ วงษ์กาฬสินธุ์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • จำเนียร ราชแพทยาคม สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • เฉลิมพงศ์ มีสมนัย สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, องค์การสมรรถนะสูง, สำนักงานศึกษาธิการภาค 10

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานศึกษาธิการภาค 10 2) ระดับของการเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสำนักงานศึกษาธิการภาค 10 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับการเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสำนักงานศึกษาธิการภาค 10 และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสำนักงานศึกษาธิการภาค 10การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ รูปแบบวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ ข้าราชการสำนักงานศึกษาธิการภาค 10 และหน่วยงานในพื้นที่รับผิดชอบ 5 แห่ง ได้แก่ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเลย สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดหนองคาย สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดหนองบัวลำภู และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ จำนวน 197 คน โดยศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน

            ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานศึกษาธิการภาค 10 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับความคิดเห็นต่อการเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสำนักงานศึกษาธิการภาค 10 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับการเป็นองค์การสมรรถนะสูง พบว่า มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกในระดับสูงโดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 4) ปัญหาที่พบคือ บุคลากรในหน่วยงานมีน้อยแต่ภารกิจงานมีมาก จึงส่งผลให้มีข้อจำกัดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านเวลา งบประมาณสนับสนุนมีอยู่จำกัด โอกาสในการเข้าร่วมพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับเครือข่ายค่อนข้างน้อย ส่วนข้อเสนอแนะที่ได้คือ ควรมีการสำรวจความต้องการของบุคลากร จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ นำเทคโนโลยีมาใช้ในการระบบสารสนเทศบุคลากร ควรพัฒนาสมรรถนะด้านต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความชำนาญ สร้างเสริมทักษะการทำงานในศตวรรษที่ 21 เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์การ ส่งเสริมบรรยากาศของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้

References

ไตรรัตน์ โภคพลากรณ์. (2561). การฝึกอบรมและการพัฒนาทรัพยากร (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นทีทิพย์ ประพันธ์วิทย์. (2552). รูปแบบการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์).

นลพรรณ บุญฤทธิ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

บุญอนันต์ พินัยทรัพย์. (2562). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิจิทัล. นนทบุรี: โรงพิมพ์รัตนไตร.

พลอย สืบวิเศษ. (2561). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ : บทเรียนแบบองค์รวม และการประยุกต์ใช้กับแนวคิด ที่หลากหลาย. นนทบุรี: โรงพิมพ์รัตนไตร.

เมธี ทรัพย์ประสบโชค และคณะ. (2559). การพัฒนาสมรรถนะหลักของบุคลากรเทศบาลเมืองคูคต. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2559). การเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อการพัฒนา. นนทบุรี: โรงพิมพ์รัตนไตร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ม.ป.ป.). แนวทางจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560-2564. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2563 จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=6422.

เสน่ห์ จุ้ยโต. (2554). กระบวนทัศน์ใหม่การบริหารทุนมนุษย์. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31