รัฐไทยกับความพยายามสร้างพลเมืองที่พึงปรารถนาเพื่อนำการพัฒนาที่ยั่งยืน
คำสำคัญ:
พลเมือง, การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง, ความเป็นพลเมืองที่ตื่นรู้, เป้าหมาย, การพัฒนาที่ยั่งยืนบทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งศึกษาและอธิบายถึงความหมายและความสำคัญของแนวคิดพลเมือง เพื่อทำความเข้าใจการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง (Civic Education) ความเป็นพลเมืองที่ตื่นรู้หรือไม่อยู่เฉย (Active Citizenship) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals-SDGs) ว่ามีความเชื่อมโยงกันอย่างไรในการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ทั้งทรัพยากรมนุษย์ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงบทบาทของรัฐไทยในการพยายามนำ 3 แนวคิดนี้มาใช้เพื่อพัฒนาพลเมืองในการนำการพัฒนา
จากการวิเคราะห์และสังเคราะห์พบว่า รัฐไทยไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างพลเมืองให้ตื่นรู้ เนื่องจากหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองยังมีอคติไม่รอบด้าน เน้นการสร้างพลเมืองจากตำราเรียนที่มีลักษณะปลูกฝังแนวคิดบุคคลตัวอย่าง ยึดมั่นในตัวบุคคลมากกว่าหลักการ ลดทอนและละทิ้งประวัติศาสตร์ อีกทั้ง ยังมีมุมมองทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสังคม แบบมุมเดียวและตายตัว ซึ่งส่งผลโดยตรงกับความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เน้นพัฒนาสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กันอย่างมีสมดุล นอกจากนี้ การพัฒนาที่ยั่งยืนยังต้องอาศัยปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาเสริมอีก คือ ทุนทางสังคม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และความรับผิดชอบของบรรษัท เป็นต้น จึงจะนำมาประเทศไปสู่สังคมที่พึงปรารถนา
References
ญาศินี เกิดผลเสริฐ. (2558). การพัฒนาทุนมนุษย์สู่ความเป็นพลเมืองที่ตื่นตัว. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 5(2), 166-175.
พฤทธิสาณ ชุมพล, ม.ร.ว. (2558). คำและความคิดในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย เล่ม 2 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้น 5 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=6422
สมศักดิ์ สามัคคีธรรม. (2561). ธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบทางสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สิริพรรณ นกสวน สวัสดี และคณะ. (2557). คำและแนวคิดในประชาธิปไตยสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท.
เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา. (2548). โลกาภิวัตน์ บรรษัทข้ามชาติ บรรษัทภิบาล และความรับผิดชอบต่อสังคมของบรรษัท. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Barker, C. (2004). The SAGE Dictionary of Cultural Studies. London: SAGE Publications.
Havens, M. C. (1986). Citizenship. In Encyclopedia Americana (Vol. 6). Danbury CT: Grolier.
Mouffe, C. (2004). Citizenship. In J. Krieger (Ed.), The Oxford Companion to Politics of the World (p. 136-137). Oxford: Oxford University Press.
Payutto, P. A. (2013). Sustainable Development. Bangkok: Komol Keemthong Foundation.
United Nations. (2015). Sustainable Development Goals (SDGs). Retrieved May 2, 2020, from https://www.un.org/development/desa/disabilities/envision2030.html
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มมร วิชาการล้านนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ