รูปแบบและแนวทางการอนุรักษ์พุทธสถาปัตยกรรมสกุลช่างลำปาง ณ วัดพระธาตุลำปางหลวง

ผู้แต่ง

  • พระดัตวทัสน์ รินชุมภู หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
  • สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
  • พระอธิการสุชาติ จนฺทสโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง

คำสำคัญ:

พุทธสถาปัตยกรรม, สกุลช่างลำปาง, แนวทางการอนุรักษ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ความเป็นมาและลักษณะองค์ประกอบของพุทธสถาปัตยกรรมสกุลช่างลำปาง และพัฒนาการทางพุทธสถาปัตยกรรมสกุลช่างลำปาง ณ วัดพระธาตุลำปางหลวง 2) นำเสนอรูปแบบและแนวทางการอนุรักษ์พุทธสถาปัตยกรรมสกุลช่างลำปาง ณ วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพจากการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 11 คน และการออกแบบลายเส้น เพื่อนำเสนอรูปแบบและแนวทางการอนุรักษ์พุทธสถาปัตยกรรมช่างสกุลลำปาง

ผลวิจัยพบว่า พุทธสถาปัตยกรรมสกุลช่างลำปางสามารถจำแนกออก 4 ยุค ได้แก่ ยุคล้านนารุ่งเรือง ยุคพม่าปกครอง ยุคประเทศราชของสยาม และยุคมณฑลเทศาภิบาลจนถึงปัจจุบัน ซึ่งการสร้างและพัฒนาการในแต่ละยุคล้วนมีความงดงามทางด้านศิลปกรรมและเทคนิคช่าง โดยลักษณะและองค์ประกอบ ได้แก่ เทคนิคช่าง การปั้น การวางผัง การกำหนดขนาดของวิหาร เป็นต้น

รูปแบบและแนวทางการอนุรักษ์ ได้แก่ การอนุรักษ์ การปรับปรุง การฟื้นฟู การสงวนคุ้มครอง การป้องกันการเสื่อมสภาพ รักษาความคงสภาพ การเสริมสภาพของตัวสถาปัตยกรรม การบูรณปฏิสังขรณ์ การเลียนแบบของเดิม และการสร้างขึ้นใหม่ ส่วนวิธีการอนุรักษ์จำแนกออก 2 ประการ ได้แก่ 1) แนวทางฐานคุณค่า โดยการสำรวจรูปแบบ แบบแปลน โครงสร้าง การตรวจสอบและประเมินผล หารือเพื่อนำมาแก้ไข และเผยแพร่ความรู้เพื่อปลูกฝังจิตสำนึก และช่วยกันอนุรักษ์ 2) แนวทางประยุกต์จากกรมศิลป์ โดยการแนะนำการใช้งานให้ประชาชน และการตรวจสอบ ประเมินผล เพื่อดำเนินการปรับปรุงงานอนุรักษ์และป้องกันไม่ให้เสื่อมไปตามเวลา องค์ความรู้จากการวิจัย ได้แก่ รูปแบบและแนวทางการอนุรักษ์พุทธสถาปัตยกรรมสกุลช่างลำปางแต่ละยุคประกอบด้วย 1) คติความเชื่อ 2) พุทธศาสนา 3) จักรวาลวิทยา 4) ความเชื่อพื้นถิ่น 5) ประวัติศาสตร์ 6) ตำนานทางพระพุทธศาสนาในลำปาง

References

กรมศิลปากร. (2534). แหล่งประติมากรรมภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: กองโบราณคดี กรมศิลปากร.

กรมศิลปากร. (2551). วัดพระธาตุลำปางหลวง : ระเบียงคด กุฏิพระแก้ว และหอไตร. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2541). ลำปาง : นครเขลางค์แห่งลุ่มน้ำวัง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

กฤษณ์ อิทรนนท์. (2558). พื้นฐานช่างก่อสร้าง. นนทบุรี: คอร์ฟังก์ชั่น

กิติโชค สาครมิ่งทรัพย์. (2564, 27 กุมภาพันธ์). สัมภาษณ์โดย พระดัตวทัสน์ รินชุมภู [การบันทึกเสียง].กลุ่มช่วยเหลือศูนย์การเรียนรู้ชุมชนปงสนุก, ลำปาง.

มัทรี มิ่งเชื้อ. (2564, 27 กุมภาพันธ์). สัมภาษณ์โดย พระดัตวทัสน์ รินชุมภู [การบันทึกเสียง]. อาจารย์วิชาสังคมและศาสนา โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย, ลำปาง.

วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์. (2544). วิหารล้านนา. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง. (2557). วิถีการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมล้านนา. ใน ล้านนาคดีศึกษา (น. 234). เชียงใหม่: สุเทพการพิมพ์.

สามารถ สิริเวชพันธุ์. (2546). วิหารโถง ซุ่มโขง สกุลช่างลำปาง. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อนุวิทย์ เจริญศุภกุล. (2525). ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมไทยศึกษา. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2, 23-54.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30