ผลการพัฒนาทักษะทางสติปัญญาโดยใช้ชุดกิจกรรมลีลาเส้นสร้างสรรค์แบบเรียนปนเล่นสำหรับผู้เรียน ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • เฉลิมรัฐ โพธิ์แจ่ม คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • เกตุมณี มากมี คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • วารุณี โพธาสินธุ์ คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ทักษะทางสติปัญญา, เรียนปนเล่น, เส้นสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อเปรียบเทียบผลพัฒนาการด้านทักษะทางสติปัญญาระหว่างเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมลีลาเส้นสร้างสรรค์แบบเรียนปนเล่น 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อพัฒนาการด้านทักษะทางสติปัญญาโดยใช้ชุดกิจกรรมลีลาเส้นสร้างสรรค์แบบเรียนปนเล่น กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยได้แก่ ผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เพศชาย อายุ 11 ปี ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดลำพูน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย เครื่องมือที่เป็นนวัตกรรม ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมลีลาเส้นสร้างสรรค์แบบเรียนปนเล่น จำนวน 3 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 24 แผน และเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบประเมินพัฒนาการด้านการเขียนลีลาเส้นระหว่างเรียนและหลังเรียน 2) แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อชุดกิจกรรมลีลาเส้นสร้างสรรค์แบบเรียนปนเล่น จำนวน 1 ฉบับ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพ 71.66/75.41 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 70/70 2) พัฒนาการด้านการเขียนลีลาเส้นหลังเรียน มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับผลประเมินระหว่างเรียน 3) ผู้ปกครองรู้สึกพึงพอใจในชุดกิจกรรมลีลาเส้นสร้างสรรค์แบบเรียนปนเล่น เพราะผู้ปกครองเห็นว่าผู้เรียนมีความพยายามในการทำกิจกรรม ที่สามารถพัฒนาทักษะทางสติปัญญาเพื่อต่อยอดในระดับที่สูงขึ้น

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (ฉบับที่ 2) และที่แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: สยามสปอรต์ ซินดิเค.

กัลยาณี แซมสีม่วง และ สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2556). พัฒนาการด้านการเขียนของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นและการละเลงสีด้วยนิ้วมือ. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 10(2), 313-320.

เจริญสวัสดิ์ ไกวัลนาโรจน์. (2556). ศึกษาการใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนลีลาเส้นของผู้เรียนออทิสติก เตรียมความพร้อมระดับ 2 ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 1 สาขาอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

ปิยนันท์ พูลโสภา. (2560). การพัฒนาการเล่น เพื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์์, 32(1), 20-27.

พัทนินทร์ สันตยากร. (2561). การพัฒนาการเขียนของเด็กปฐมวัย. สืบค้น 10 กันยายน 2563, จาก http://164.115.41.60/excellencecenter/?p=286

ภรณี คุรุรัตนะ. (2535). การเล่นของเด็ก. กรุงเทพฯ: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒประสานมิตร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30