รัฐกับพระพุทธศาสนาผ่านมุมมองพระสงฆ์ไทยและสังคมไทย
คำสำคัญ:
รัฐ, พุทธศาสนา, พระสงฆ์, สังคมไทยบทคัดย่อ
รัฐกับพระพุทธศาสนามองผ่านพระสงฆ์กับสังคมในสังคมไทย คือ การอธิบายความสัมพันธ์ของรัฐไทยกับพระพุทธศาสนา โดยผ่านความสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์กับรัฐไทย โดยสังคมไทย มีสถาบันหลัก อยู่ 3 อันได้แก่ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ในบทความนี้ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์ เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของพระสงฆ์ กับ รัฐ โดยที่ รัฐ กับ สงฆ์ ทั้งสองเสาร์หลักในสังคมไทย อันได้แก่ รัฐเป็นตัวแทนของชาติ สงฆ์ เป็นตัวแทน ศาสนา โดย พระสงฆ์กับรัฐไทยเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันนับตั้งแต่อดีต โดยรัฐจะคอยป้องกันศาสนาและพระสงฆ์ส่วนพระสงฆ์จะคอยช่วยอบรมสั่งสอนพลเมืองของรัฐให้เป็นผู้มีจิตใจดี รู้จักหน้าที่ของพลเมืองรัฐ โดยผ่านวิถีชีวิตของคนในสังคมไทย ดังนั้นพระสงฆ์จึงมีบทบาทและมีอิทธิพลต่อสังคมและรัฐไทยผ่านทางประเพณีและวัฒนธรรม เช่น การเกิด จนถึงการตาย เราสามารถแยกบทบาทของพระสงฆ์ที่มีต่อสังคมและรัฐไทยได้ 3 ลักษณะ ดังนี้ 1) ลักษณะของผู้นำทางจิตวิญญาณ 2) ลักษณะผู้นำทางสังคม 3) ลักษณะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยลักษณะทั้งสามประการยังอยู่ในความเป็นพระสงฆ์ในประเทศไทย พระสงฆ์จึงเป็นทั้งผู้นำทางจิตวิญญาณ ผู้นำทางสังคมและเจ้าหน้าที่ของรัฐในเวลาเดียวกัน
References
กรมการศาสนา. (2514). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม.
กีรติ ศรีวิเชียร. (2527). อดีต ปัจจุบันและอนาคตแห่งบทบาทของของวัดไทยในการแสวงหาเส้นทางการพัฒนาชนบทของพระไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศาสนา.
พระครูกิตติวรานุวัตร, (2561). บทบาทพระสงฆ์ในการสืบสานวัฒนธรรมไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(3), 465-487.
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505-2561. (2561). สืบค้น 20 ธันวาคม 2565, จาก https://ssc.onab.go.th/th/content/category/detail/id/7/iid/6576
พินิจ ลาภานนท์. (2529). บทบาทไทยกับการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: เจริญวิทยาการพิมพ์.
มงคลชัย สมศรี. (2560). บทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาสังคมในจังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
รัชนีกร เศรษโฐ. (2528). สังคมวิทยาชนบท. กรุงเทพฯ: ไทยพัฒนานิช.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มมร วิชาการล้านนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ