พัฒนาทักษะการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย โดยการใช้กิจกรรมการทำอาหาร

ผู้แต่ง

  • ชุติกาญจน์ ชูหมื่น คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • รัตนา ณ ลำพูน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เคนเนท แอล แคมป์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การพัฒนาทักษะการสื่อสาร, เด็กปฐมวัย, กิจกรรมการทำอาหาร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแผนการจัดประสบการณ์ทักษะการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการทำอาหาร 2) ศึกษาพัฒนาการด้านทักษะการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย จากการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์กิจกรรมการทำอาหาร ประชากรคือ นักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 74 คน ของโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่งในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/3 จำนวน 24 คน อายุระหว่าง 4-5 ปี เป็นชาย 13 คน หญิง 11 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ผู้วิจัยใช้วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยจัดกิจกรรมการทำอาหารจำนวน 18 ครั้ง ครั้งละ 40 นาที ในวันจันทร์ พุธ และศุกร์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์ทักษะการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย ด้วยการกำหนดแผนกิจกรรมการทำอาหาร จำนวน 18 แผน แบบประเมินพัฒนาการทักษะการสื่อสาร แบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า

  1. แผนการจัดประสบการณ์พัฒนาทักษะการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการทำอาหาร แผนดังกล่าวมีความละเอียด ชัดเจน มีหัวข้อและส่วนประกอบต่าง ๆ ครอบคลุมตามศาสตร์ของการสอน มีความสอดคล้องสัมพันธ์เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน สามารถนำไปใช้พัฒนาผู้เรียนระดับปฐมวัยได้ในระดับดี
  2. การพัฒนาด้านทักษะการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย จากการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์กิจกรรมการทำอาหาร ผู้เรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทำอาหาร มีการพัฒนาทักษะการสื่อสาร ด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ในระดับดี คือ จากค่าร้อยละ 62.50, 60.65, 62.96 และ 62.50 เป็นร้อยละ 87.50, 87.03, 88.89 และ 91.67 ตามลำดับ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน .

กุหลาบ ภูมาก. (2556). การศึกษาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การประกอบอาหารพื้นบ้านอีสาน [วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ขนิษฐา บุนนาค. (2561). การจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร (Cooking) สำหรับ เด็กปฐมวัย. Youngciety. https://www.youngciety.com/article/learning/cooking-for-hildren.html

คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี. (2561). สำนักนายกรัฐมนตรี.

ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 20). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธิดารัตน์ จันทะหิน. (2551). ผลของการบันทึกผ่านกิจกรรมประกอบอาหารที่มีต่อพัฒนาการด้านการเขียนของเด็กปฐมวัย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นฤมล เนียมหอม. (2562). การจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย. ห้องเรียนครูแมว ฐานข้อมูลด้านการศึกษาปฐมวัย. http://www.nareumon.com/index.php?option=com_content&task=view&id=18&Itemid=50

วรรณิษา หาคูณ, อรอุมา เจริญสุข, และกุลยา ตันติผลาชีวะ. (2559). การส่งเสริมพฤติกรรมการอ่านของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมหนังสือนิทาน. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 22(พิเศษ), 268-282.

วรวรรณ เหมชะญาติ. (2551). หลักสูตรอนุบาลจุฬาลักษณ์: สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภมาส จิรกอบสกุล, สุทธาภา โชติประดิษฐ์, และสพลณภัทร์ ศรีแสนยงค์. (2561). ทักษะทางภาษาด้านการอ่าน การเขียนของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการอ่านนิทานร่วมกัน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(1), 184-195.

สนอง สุทธาอามาตย์. (2545). ความสามารถด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยการประกอบอาหาร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

หลักสูตรโรงเรียนอนุบาลวรานีกูล ระดับการศึกษาปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560. (2560). โรงเรียนอนุบาลวรานีกูล.

อนุสรา โลกคำลือ. (2561). รายงานการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารพื้นบ้าน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1.

อรพร ทับทิมศรี. (2554). ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับการประกอบอาหารไทยโบราณ ที่มีต่อสัมพันธภาพทางสังคมของเด็กปฐมวัย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Bruner, J. S. (1969). The Process of education. Harvard University Press.

Dewey, J. (1969). Philosophy, education and reflective thinking. In T. O. Buford (Ed.), Toward a philosophy of education (pp. 180-183). Rinehart and Winston.

Hohmann, M., & Weikart, D. P. (2002). Educating young children: Active learning for preschool and child care programs (2nd ed.). High Scope Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-24