ผลกระทบทางด้านสังคมจากการจ้างแรงงานต่างด้าวของไทย
คำสำคัญ:
ผลกระทบด้านสังคม, การจ้างแรงงาน, แรงงานต่างด้าวบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลกระทบทางด้านสังคมจากการจ้างแรงงานต่างด้าวของไทย 2) ศึกษาข้อเสนอแนะด้านนโยบายและกฎระเบียบการแก้ไขปัญหาผลกระทบทางด้านสังคมจากการจ้างแรงงานต่างด้าวของไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสังเคราะห์เอกสาร โดยนำเสนอผลกระทบทางด้านสังคมและเสนอแนะเชิงนโยบาย 1) ผลการศึกษากระทบทางด้านสังคมจากการจ้างแรงงานต่างด้าวของไทย พบว่า มีผลกระทบ คือ ผลกระทบต่อสังคมไทย ผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติและความปลอดภัยของสังคม ผลกระทบต่อการแผ่ขยายเขตเมืองอย่างไม่มีระเบียบและปราศจากแผนควบคุม ผลกระทบต่อที่อยู่อาศัยของสังคม ผลกระทบต่อความเสื่อมโทรมทางจิตใจและความเหลื่อมล้ำในสังคม ผลกระทบในการแสวงประโยชน์ของคนในสังคม และผลกระทบในการค้ามนุษย์ในสังคม โดยแรงงานต่างด้าวถูกนายจ้างยึดเอกสารเดินทาง 2) ผลการศึกษาข้อเสนอแนะด้านนโยบายและกฎระเบียบการแก้ไขปัญหาผลกระทบทางด้านสังคมจากการจ้างแรงงานต่างด้าวของไทย พบว่า ควรสร้างความสมดุลระหว่างการบังคับใช้กฎหมายแก่แรงงานต่างด้าว ภาครัฐต้องจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสม กระทรวงสาธารณสุขควรร่วมกับภาครัฐอื่นที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดสรรงบประมาณในการให้บริการสาธารณสุข ควรให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมีบทบาทในการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวตามกฎหมายแรงงานอย่างครบถ้วน ภาครัฐควรให้ความคุ้มครองแก่แรงงานต่างด้าว ควรสร้างระบบฐานข้อมูลที่ดีและชัดเจนสำหรับแรงงานต่างด้าว สนับสนุนส่งเสริมให้ตลาดแรงงานในภูมิภาคเอเชียเติบโต จัดระบบฐานข้อมูลแรงงานต่างด้าวที่เป็นระบบ และต้องเตรียมการณ์สำหรับแรงงานที่จะเข้ามาช่วยดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว
References
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว. กระทรวง.
ชัสมา พูลสวัสดิ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจจ้างแรงงานต่างด้วยของผู้ประกอบการเกษตรกรรมในพื้นที่ อำเภอนิคมพัฒนาจังหวัดระยอง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญรัตน์ รัฐบริรักษ์. (2553). สถานะและปัญหาทางสังคมเศรษฐกิจของผู้อพยพข้ามชาติในประเทศไทย: มองผ่านทายาทรุ่นที่ 2 ของผู้อพยพชาวพม่า. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
เปวิกา ชูบรรจง. (2554). การศึกษาคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าวในเขตอำเภอเมือง สมุทรสาคร[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พิทักษ์พงศ์ กางการ. (2560). ผลกระทบของการค้าแรงงานต่างด้าวต่อความมั่นคงของชาติในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง: กรณีศึกษาจังหวัดชัยภูมิ. วารสารราชพฤกษ์, 15(3), 55-62.
เพียร์สัน, อี. (2549). การจ้างแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย : งานหนัก จ่ายน้อย และไม่ได้รับการคุ้มครอง เล่ม 1. องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO). https://www.ilo.org/wcmsp5/groups/public/---asia/---ro-bangkok/documents/publication/wcms_160751.pdf
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. (2558). ผลกระทบจากแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย จะเป็นอย่างไร เมื่อไทยเข้าสประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC) ในปี 2558. มหาวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (2561). ผลกระทบด้านลบของแรงงานต่างด้าวที่มีต่อ สังคม สาธารณสุข และความมั่นคง. มหาวิทยาลัย.
มัณฑกา ลบล้ำเลิศ. (2560). ผลกระทบของแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายต่ออัตราการว่างงานและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ และสิรวิชญ์ รัตนประทีปทอง. (2563). ผลกระทบของ Covid-19 ที่มีผลต่อการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). https://tdri.or.th/2020/08/covid-19-impact-on-migrant-workers
ศศิเพ็ญ พวงสายใจ. (2554). ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมไทยจากการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณของภาครัฐ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิวิไล ชยางกูร. (2555). แรงงานข้ามชาติกับความต้องการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
เศกสิน ศรีวัฒนานุกูลกิจ และน้ำทิพย์ เสมอเชื้อ. (2553). โครงการการค้ามนุษย์ในกลุ่มทายาทรุ่นที่ 2 ของผู้ย้ายถิ่น 3 จากประเทศพม่า: รายงานฉบับสมบูรณ์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนาองค์กรมหาชน. (2559). แรงงานข้ามชาติ. สถาบัน.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2554). ผลกระทบจากการจ้างแรงงานข้ามชาติของไทยภายใต้ยุคพิสูจน์สัญชาติิ. สถาบัน.
สนิท สัตโยภาส. (2559). แรงงานต่างด้าวกับความมั่นคงทางสังคม. วารสารบัณฑิตวิจัย, 7(1), 193-207.
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. (2566). สถิติจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือทั่วราชอาราจักร. สำนัก.
เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์ และคณะ. (2557). การจัดการกับการเข้าประเทศและการจ้างงานที่ผิดกฎหมายในประชาคมอาเซียน: กรณีศึกษาประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย. มหาวิทยาลัยทักษิณ.
อภิชาติ ทรัพย์ประเสริฐ. (2560). ปัญหาหลบหนีเข้าเมืองกับภัยคุกคามความมั่นคง ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด. วิทยาลัยกองทับบก.
อภิรักษ์ แก้วสวย. (2559). วิถีชีวิตต่างด้าวในแดนไทย: แนวทางการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในพื้นที่จังหวัดหนองคาย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
อริยะ โพธิใส. (2559). มาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์. สำนักงานกฎหมาย.
Bailey, K. D. (1994). Methods of social research. The Free Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มมร วิชาการล้านนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ