ประสิทธิผลของเทคนิคเคดับเบิ้ลยูแอล-พลัส (KWL-Plus) ในการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนันทบุรีวิทยา (วัดพระธาตุช้างค้ำ วรวิหาร)
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล, เทคนิคเคดับเบิ้ลยูแอล-พลัส, การอ่านจับใจความภาษาอังกฤษบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค เคดับเบิ้ลยูแอล-พลัส (KWL-Plus) ในการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เคดับเบิ้ลยูแอล-พลัส (KWL-Plus) และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเคดับเบิ้ลยูแอล-พลัส (KWL-Plus) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้องที่ 1 โรงเรียนนันทบุรีวิทยา (วัดพระธาตุช้างค้ำ วรวิหาร) จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการกับเทคนิค
เคดับเบิ้ลยูแอล-พลัส (KWL-Plus) จำนวน 5 แผน บทอ่านจำนวน 5 เรื่อง และ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าการทดสอบค่าที (t-test dependent) และค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.)
ผลการวิจัยพบว่า
- ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเคดับเบิ้ลยูแอล-พลัส (KWL-Plus) ในการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนัทบุรีวิทยา (วัดพระธาตุช้างค้ำ วรวิหาร) มีประสิทธิภาพในภาพรวมเท่ากับ 82.13/81.04 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80
- ดัชนีประสิทธิผลของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า มีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I) เท่ากับ 0.6679 แสดงว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 66.79
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กรณ์ กรภัทร์ชัยกุล และจารุณี ปล่องบรรจง. (2557). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรม KWL-Plus สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา 2. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 8(1), 132-142.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ขวัญชัย จันทร์แดง และจิรัฐิติกาล พิมพ์วิชัย. (2565). แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus ที่ใช้อภิปัญญาเป็นฐานเพื่อพัฒนาการคิดอภิปัญญาและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน: ความท้าทายสำหรับครูคอมพิวเตอร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 45(1), 87-101.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 5-20.
บรรพตี แดนขนบ และวิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์. (2556). ผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการสอนแบบ KWL-Plus ที่มีต่อความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงคิดวิเคราะห์ และความพึงพอใจต่อการเรียน ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, 6(16), 113-121.
ปนัดดา มณีจักร. (2551). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการอ่านแบบ KWL-Plus เพื่อพัฒนาความเข้าใจ ในการอ่านและความสามารถในการเขียนสรุปความภาษาอังกฤษ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ฐานข้อมูลงานวิจัยทางการศึกษา. http://www.thaiedresearch.org/home/paperview/211
ประยูร อาษานาม. (2548). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
มวลมาศ แก้วขวัญข้า. (2560). รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจโดยใช้กิจกรรม KWL-Plus สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. โรงเรียนรามวิทยา รัชมังคลาภิเษก. http://ramwittaya.ac.th/workteacher-detail_24270
วรัชฎา ครองยุต. (2562). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค DR-TA ประกอบแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 2(6), 34-44.
วาสนา เหล่าดวงดี. (2563). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้กิจกรรม เคดับเบิ้ลยู แอล พลัส (KWL-Plus) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. โรงเรียนโกสุมวิทยาสรรค์. http://www.thaischool1.in.th/_files_school/44100437/workteacher/44100437_1_20210516-131844.pdf
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2562). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562. http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETM6_2562.pdf
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2552). 19 วิธีจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ (พิมพ์ครั้งที่ 8). ภาพพิมพ์.
อนันต์ ศรีโสภา. (2524). เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร.
อภิรักษ์ รักษาชื่อ. (2560). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยการอ่านจากเรื่องสั้น ๆ ของนักศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปี ที่ 2 วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ. วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ. http://www.atc.ac.th/ATCWeb/FileATC/ศูนย์วิจัยและพัฒนา/วิจัยเผยแพร่60/9.สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ/อาจารย์อภิรักษ์.pdf
เอื้อมพร ยังยืน. (2550). การพัฒนาทักษะการอ่านคำโดยใช้วิธีการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ โรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัด เชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มมร วิชาการล้านนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ