การพัฒนาการบริหารจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 11
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล, การบริหารจัดการ, การเผยแผ่พระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 11 มีระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณโดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 396 รูป ซึ่งเป็นพระสงฆ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 11 เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 17 รูป และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 11 ประกอบด้วย ด้านการเข้าถึงประชาชน ได้แก่ การมีส่วนร่วม การพัฒนาชุมชน ส่งพระธรรมทูตเข้ามีส่วนร่วมต่อต้านยาเสพติด ให้การช่วยเหลือ เสียสละ และจัดกิจกรรมการเผยแผ่ ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้แก่ ให้การอุปถัมภ์พระศาสนา ร่วมตัดสินใจ พัฒนาวัด มีส่วนร่วมในกิจกรรมการบริหารจัดการสนับสนุนทางพระพุทธศาสนา ด้านการพัฒนาความรู้ของประชาชน รู้จักรับผิดชอบ แก้ไขปัญหา รักษาศีลปฏิบัติธรรม ประกอบสัมมาชีพ มีวัดเป็นศูนย์กลางจัดกิจกรรม แหล่งเรียนรู้ของชุมชน และด้านการมีความสุขของประชาชนประชาชนให้ทานรักษาศีล สวดมนต์เจริญภาวนา ละเว้นอกุศลกรรมบถ ปฏิบัติตามธรรมและอยู่อย่างพอเพียง
References
ทรงวิทย์ แก้วศรี. (2551). การศึกษาวิเคราะห์ยุทธวิธีในการประกาศศาสนาของพระพุทธเจ้า [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
บัญชายุทธ นาคมุจลินท์. (2562). วิเคราะห์การบริหารองค์กรในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของศูนย์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาประจำจังหวัดอุทัยธานี. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 1(1), 23-30.
พระครูปลัดสุวัฒน์ จริยคุณ. (2547). นักวิชาการเทศนา. โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
พระครูภาวนาโสภิต (บุญรัตน์ เมืองวงศ์). (2553). การบริหารการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในล้านนา [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
พระครูอุทัยกิจจารักษ์ (สุรางค์ สุจิณฺโณ). (2558). รูปแบบการบริหารจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาขององค์กรปกครองคณะสงฆ์ ภาค 2. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 15(1), 7-16.
พระณปวร โทวาท. (2560). ต้นแบบการบริหารจัดการเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาประจำจังหวัดในประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยสยาม.
พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหานงค์ อับไพ. (2555). การบริหารการเผยแผ่พุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
พระมหาปรีชา สาเส็ง. (2560). ประสิทธิผลการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตอาสา ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(3), 23-34.
พระมหาอำนวย มีราคา. (2559). แนวทางในการเผยแพร่พุทธศาสนาในต่างประเทศ: กรณีศึกษาประเทศเนเธอร์แลนด์. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 16(1), 169-176.
พระวิมาน คมฺภีรปญฺโญ (ตรีกมล). (2554). การเผยแผ่ในอุรุเวลาเสนานิคมในฐานะต้นแบบแห่งพุทธวิธีในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุภัทรชัย สีสะใบ. (2562). รูปแบบการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษาของพระธรรมวิทยากร [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีนิพนธ์ ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มมร วิชาการล้านนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ