แนวทางการขับเคลื่อนหมู่บ้านศีล 5 ของชุมชนตำบลนาโป่ง อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • พระครูสุจินสาธุกิจ (สีไชลังกา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
  • จีรศักดิ์ ปันลำ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
  • สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง

คำสำคัญ:

แนวทาง, การขับเคลื่อน, ศีล 5

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 ตามนโยบายของภาครัฐ 2) ศึกษากระบวนการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของตำบลนาโป่ง อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง 3) เสนอแนวทางการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของตำบลนาโป่ง อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือ ได้แก่ การศึกษาข้อมูลเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 46 คน และวิเคราะห์ข้อมูลและบรรยายเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 มุ่งสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยอาศัยหลัก “บวร” เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกและสร้างความตระหนัก รักและเชิดชูสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ให้เกิดความมั่นคง
  2. กระบวนการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 มีขั้นตอนดังนี้ 1) การสนองนโยบายคณะสงฆ์ให้เป็นวัดต้นแบบ
    2) ความพร้อมของวัดและชุมชนที่จะส่งเสริมและเกื้อหนุนให้โครงการประสบความสำเร็จ 3) การมีส่วนร่วม ผลักดันชุมชนและเครือข่ายให้เกิดเป็นพลังในการดำเนินงาน 4) กฎกติกาชุมชน 5) การสร้างสรรค์กิจกรรมและสร้างกฎกติกาชุมชน 6) การสร้างเครือข่าย เพื่อให้เกิดการผลักดันกิจกรรมจากความร่วมมือ วางแผน ตัดสินใจ
  3. แนวทางการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 ได้แก่ 1) ปลูกจิตสำนึกแก่เด็กเยาวชนและประชาชน 2) การจัดการชุมชนต้นแบบ 3) การขับเคลื่อนต้องสอดรับวิถี 4) สร้างสรรค์กิจกรรมการรักษาศีล 5) กำหนดเป้าหมายการขับเคลื่อน 6) สร้างและพัฒนาภาคีเครือข่าย 7) การรณรงค์และประชาสัมพันธ์

References

งามตา วนินทานนท์. (2535). จิตวิทยาสังคม. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

พระครูศรีปริยัตยารักษ์ (ประสงค์ กิตฺติปญฺโญ). (2560). รูปแบบการสร้างเครือข่ายหมู่บ้านรักษาศีล 5 เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดนครราชสีมา [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย]. MCU Digital Collections. https://e-thesis.mcu.ac.th/thesis/270

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 11). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาเกรียงศักดิ์ กิตฺติชโย (ไชยสมศรี). (2550). ศึกษาวิเคราะห์หลักศีล 5 ที่มีผลกระทบต่อกระบวนการควบคุมทางสังคม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย).

พระมหาเกรียงศักดิ์ กิตฺติชโย (ไชยสมศรี). (2550). ศึกษาวิเคราะห์หลักศีล 5 ที่มีผลกระทบต่อกระบวนการควบคุมทางสังคม [วิทยานิพน์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระมหาพิชิตชัย ยมพาลไพ่. (2542). การศึกษาทัศนะเรื่องศีล 5 ของชาวพุทธในสังคมไทยปัจจุบัน: ศึกษาเฉพาะกรณีการฆ่าสัตว์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

พระมหาสำรวย ญาณสํวโร (พินดอน). (2542). การศึกษาเรื่องผลกระทบจากการล่วงละเมิดศีลข้อที่ 5 ที่มีต่อสังคมไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พลศักดิ์ จิรไกรศิริ. (2529). การเมืองกับพุทธธรรม. สยามบรรณาการพิมพ์.

ไพโรจน์ อยู่มณเฑียร. (2543). พระวจนะอัครมหาราช. ธารบัวแก้ว.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราศี ทองสวัสดิ์. (2543). การอบรมศีลธรรมและพระพุทธศาสนาในโรงเรียนมัธยมต้นในทัศนคติของครู [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์. (2559). กระบวนการสร้างหลักประกันชีวิตตามหลักศีล 5 ในจังหวัดลำปาง.สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก. (2554). วิธีสร้างบุญบารมี (พิมพ์ครั้งที่ 303). พิมพ์สวย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28