การศึกษาวิเคราะห์ทานที่ปรากฏในทานกัณฑ์ของมหาชาติเวสสันดรชาดก ฉบับสร้อยน้อย เถ้าลืมหลาน
คำสำคัญ:
การศึกษาวิเคราะห์ทาน, ทานกัณฑ์, มหาชาติเวสสันดรชาดกบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นมาของวรรณกรรมมหาชาติเวสสันดรชาดก 2) ศึกษาเนื้อหาที่ปรากฏในทานกัณฑ์ของมหาชาติเวสสันดรชาดก ฉบับสร้อยน้อย เถ้าลืมหลาน 3) วิเคราะห์ทานที่ปรากฏในทานกัณฑ์ของมหาชาติเวสสันดรชาดก ฉบับสร้อยน้อย เถ้าลืมหลาน เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพจากเอกสาร และสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 15 รูป/คน เพื่อมาวิเคราะห์และนำเสนอการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า
- วรรณกรรมมหาชาติเวสสันดรชาดกเกิดขึ้นสมัยอยุธยาโดยพระเจ้าทรงธรรมเป็นผู้ริเริ่มให้มีการแต่งประพันธ์ขึ้น ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เพราะทรงเห็นว่าวรรณกรรมกาพย์มหาชาติในสมัยของพระเจ้าทรงธรรมสูญหายหรือกระจัดกระจายไป โดยได้จัดประพันธ์ทำนองหลวงขึ้น เพื่อที่จะให้พระสงฆ์ใช้ในการแสดงพระธรรมเทศนาสืบจนถึงปัจจุบันที่ใช้เรียกกันว่าเทศน์มหาชาติ
- เนื้อหาทานกัณฑ์ ฉบับสร้อยน้อย เถ้าลืมหลาน ที่เรียบเรียงโดย ญาณสัมปัญโณ ได้กล่าวถึง ทานกัณฑ์ที่มีเนื้อหาจำแนกออกมาเป็น 4 ประเด็น 1) พระนางผุสดีวิงวอนร้องขอพญาสัญชัย 2) พระเวสสันดรให้สัตสตกมหาทาน 3) นางมัทรีพร้อมกัณหาชาลี ตามพระเวสสันดรเข้าป่าหิมพานต์ 4) พระเวสสันดรให้ทานราชรถและม้าแก่พราหมณ์และยาจก
- ผลการวิเคราะห์ทานหรือหลักธรรมพระสูตรที่ปรากฏในทานกัณฑ์ประกอบไปด้วยพระสูตร 9 พระสูตร คือ 1) ทานวรรค 2) ปฐมทาน 8 ประการ 3) อสัปปุริสทาน 4) สัปปุริสทาน 5 5) สัปปุริสทาน8 6) บุญกริยาวัตถุ 7) กาลทานสูตร 8) โภชนทาน 9) กินททสูตร
References
คลังเอกสารสาธารณะ. (2551, 10 กรกฎาคม). ประเพณีล้านนา-เทศน์มหาชาติ. OpenBase.in.th. http://www.openbase.in.th/node/6536
ดินาร์ บุญธรรม. (2555, 23 กันยายน). ความรู้ที่ได้จากร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก. สถาบันไทยศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. http://www.thaistudies.chula.ac.th/2018/09/29/ความรู้ที่ได้จากร่ายยา
ประพัฒน์ ตรีณรงค์ และสงวน อั้นคง. (2505). สารานุกรมวรรณคดี. สำนักพิมพ์ก้าวหน้า.
พระกัลปภัทร ขนฺติโก (สุขศิริ). (2558). ศึกษาวิเคราะห์เรื่องทานในพุทธปรัชญาเถรวาทที่ปรากฏในผญาอีสาน. วารสารมหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 4(2), 219-233.
พระไกรสร กิตฺติเวที (วรา). (2560). ศึกษาพัฒนาการและคุณค่าของการเทศน์มหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์มัทรีในล้านนา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย]. MCU Digital Collections. https://e-thesis.mcu.ac.th/thesis/1504
พระธนา อคฺคธมฺโม (พิมพารัตน์). (2563). ศึกษาวิเคราะห์หลักจริยศาสตร์ที่ปรากฏในเวสสันดรชาดก. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระนรินทร์ภัทร นิรุติเมธี (ตาคำ). (2560). ศึกษาวิเคราะห์การประยุกต์ใช้หลักการให้ทานในการส่งเสริมการจัดกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 34). มูลนิธิการศึกษา เพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฏก.
พระมหาสง่า ไชยวงศ์. (2540). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องทานในพระพุทธศาสนา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระรัฐพงค์ อาจิณฺณธมฺโม, พระครูสมุห์ธนโชติ จิรธมฺโม และทรงศักดิ์ พรมดี. (2564). ศึกษาวิเคราะห์การบำเพ็ญทานบำบารมีีของพระเวสสันดรในเวสสันดรชาดก. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 12(1), 175-187. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/248101
พระวินัย วิสุทฺธสาโร (เกษมสุข). (2561). วิเคราะห์คุณค่าของหลักธรรมที่ปรากฏในมหาเวสสันดรชาดก. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย]. MCU Digital Collections. https://e-thesis.mcu.ac.th/thesis/107
พระสุกรี ยโสธโร, จักรพรรณ วงศ์พรพวัณ, จรัส ลีกา, อุทัย กมลศิลป์, และสุรพันธ์ สุวรรณศรี. (2563). การศึกษาวิเคราะห์จริยธรรมของตัวละครในวรรณกรรมพระเวสสันดรชาดก. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 7(1), 1-13. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/240832
ภูเดช แสนสา. (2558). ประวัติศาสตร์เมืองเถิน. โรงพิมพ์แม็กพริ้นติ้ง.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกบาลี “มหาจุฬาเตปิฏก์ (อนุสสรณีย์ 2500 พุทธวสเส). โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาชาติ มหาเวสสันดรชาดก ฉบับสร้อยน้อย เถ้าลืมหลาน ผูกที่ 3 ทานกัณฑ์. (ม.ป.ป.). ภิญโญ.
หลวงเทพดรุณานุศิษฏ์ (ทวี ธรมธัช). (2534). ธาตุปฺปทีปิกา หรือ พจนานุกรม บาลี-ไทย แผนกธาตุ (พิมพ์ครั้งที่ 6). โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มมร วิชาการล้านนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ