การใช้โครงงานเป็นฐานในการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • ลลิดา ศิระวงษ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • รัตนา ณ ลำพูน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เคนเนท แอล แคมป์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, การเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน, พัฒนาการเด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย 2) ศึกษาพัฒนาการเด็กปฐมวัยจากการใช้แผนการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย ประชากร คือนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 175 คน ของโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ห้อง Orange จำนวน 34 คน อายุระหว่าง 5-6 ปี เป็นชาย 12 คน หญิง 22 คน ผู้วิจัยได้กลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ใบงานทำกิจกรรมของแต่ละหัวเรื่องที่ผู้เรียนให้ความสนใจ แบบประเมินพัฒนาการทั้ง 4 ด้านประกอบด้วย ด้านร่างกาย สังคม อารมณ์-จิตใจ และสติปัญญา

ผลการศึกษาพบว่า

  1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่สามารถนำไปใช้พัฒนาผู้เรียนระดับปฐมวัยได้โดยมีครูผู้สอนเป็นผู้ดูแล และเป็นเรื่องสำคัญที่ครูผู้สอนต้องเข้าใจเป็นอย่างดีในสิ่งที่จะเกิดขึ้นในชั้นเรียน
  2. ผลการวิเคราะห์แบบประเมินและแบบทดสอบด้วยค่า T-test พบว่าผู้เรียนมีพัฒนาการ ด้านร่างกาย สังคม อารมณ์-จิตใจ และ สติปัญญา ในระดับที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. สำนักงานงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

จีระพันธุ์ พูลพัฒน์. (2557). แนวคิดและแนวปฏิบัติในการสอนแบบมอนเตสซอรี่สำหรับเด็กปฐมวัย. PECERA Thailand. http://www.pecerathailand.org/2018/01/642.html

ชนิพรรณ จาติเสถียร. (2557). นวัตกรรมการเรียนรู้ด้านการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ใน เอกสารการสอนชุด วิชา พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย หน่วยที่ 12. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชโลธร ใจหาญ. (2559). การใช้การเรียนรู้แบบโครงงานเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลรัตนบุรี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย, 5(1), 861-875.

ดุษฎี โยเหลา และคณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้าง เสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. ทิพยวิสุทธิ์.

ตวงพร อิ่มแสงจันทร์. (2554). การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และความสามารถในการแก้ปัญหาตามขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสาร Veridian E Journal ฯ สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 5(2), 305-321.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ(พิมพ์ครั้งที่ 21). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภเนตร ธรรมบวร. (2549). หลักสูตรเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ใน ประมวลสาระชุดวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย หน่วยที่ 3. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นภเนตร ธรรมบวร. (2551). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศยามน อินสะอาด. (2555). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Project Based Learning ในรายวิชาเกมและสถานการณ์จำลองเพื่อการศึกษา สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สนอง อินละคร. (2554). เทคนิควิธีการและนวัตกรรมที่ใช้จัดกิจกรรม การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. สำนักพิมพ์อุบลกิจออฟเซตการพิมพ์

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2553). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 9). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิสิรี จรัลชวนะเพท. (2551). รวมนวัตกรรมทฤษฎีการศึกษาปฐมวัยสู่การประยุกต์ใช้ในห้องเรียน. สำนักพิมพ์สาราเด็ก.

Bruner, J. (1977). The Process of education. Cambridge University Press.

Mc Donell, E.J. (2007). Implanting strategic management (2nd ed.). Prentice-hall.

Piaget, J. & Inhelder, B. (1964). The Psychology of child. Basic book.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28