แนวทางการบริหารความเสี่ยงตามหลักวุฒิธรรม 4 ในสถานการณ์การแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง

ผู้แต่ง

  • ชัชวาลย์ คำงาม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารความเสี่ยง, หลักวุฒิธรรม 4, เชื้อไวรัสโคโรนา 2019, สถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพความเสี่ยงด้านบริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาวิธีการบริหารความเสี่ยง ตามหลักวุฒิธรรม 3) เสนอแนวทางการบริหารความเสี่ยงตามหลักวุฒิธรรมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นวิจัยแบบผสานวิธี เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง 280 คน สัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 10 คน โดยนำข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพความเสี่ยงด้านการบริหารสถานศึกษา มีระดับการบริหารมากที่สุด ความเสี่ยงอยู่ในระดับน้อยที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับ ได้แก่ 1) ด้านนโยบาย 2) ด้านการครอบคลุมถึงเด็กด้อยโอกาส 3) ด้านการดำเนินงานเพื่อความปลอดภัย 4) ด้านการเรียนรู้ 5) ด้านสวัสดิภาพและการคุ้มครอง 6) ด้านการบริหารการเงิน ตามลำดับ
  2. วิธีการบริหารความเสี่ยงด้านบริหารสถานศึกษา มีหลักการบริหาร คือ 1) นำหลักสัปปุริสังเสวะมาใช้เป็นแนวทางบริหารการเรียนรู้ 2) ใช้หลักสัทธัมมัสสวนะเป็นแนวทางศึกษาข้อมูลเพื่อสร้างรูปแบบการบริหารให้ครอบคลุมถึงมิติเด็กด้อยโอกาส เพื่อส่งเสริมสวัสดิภาพและการคุ้มครองเด็ก 3) ตรวจสอบตามหลักหลักโยนิโสมนสิการด้วยเหตุผลด้านนโยบายและด้าน การดำเนินงานเพื่อความปลอดภัย 4) ปฏิบัติตามหลักธัมมานุธัมมปฏิบัติ เพื่อบริหารการเงินให้เกิดความโปร่งใส
  3. แนวทางการบริหารความเสี่ยงตามหลักวุฒิธรรม 4 มีแนวทาง ดังนี้ 1) ใช้หลักสัปปุริสังเสวะ โดยเสวนา แบบกัลยาณมิตร มีหลักเกณฑ์การพิจารณาอย่างละเอียด กำหนดทิศทางการบริหารได้ 2) ใช้หลักสัทธัมมัสสวนะ เพื่อเปิดโอกาสรับฟังข้อมูลและนำมาเป็นหลักขยายโอกาสทางการศึกษาครอบคลุมถึงนโยบายการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ 3) ดำเนินการด้วยหลักโยนิโสมนสิการ มีการตรวจสอบข้อมูลว่าสอดคล้องกับสภาพปัญหาการบริหารอย่างแท้จริง 4) ใช้หลัก ธัมมานุธัมมปฏิบัติ พิจารณาหลักการนำความรู้การสู่ปฏิบัติให้ถูกต้อง มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19. คิว แอดเวอร์ไทซิ่ง.

ธีร์ ภวังคนันท์, สิน งามประโคน, และสมศักดิ์ บุญปู่. (2565). รูปแบบการบริหารการศึกษาตามหลักพุทธบูรณาการในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วารสารปัญญาปณิธาน, 8(2), 29-42. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/269192

นวรัตน์ ไวชมภู, ชณัฐ พรหมศรี, นิรันดร์ จุลทรัพย์, พิไลพร เกษตรสมบูรณ์, และสุขฤทัย ไวชมภู. (2565). ปัญหาและแนวทางการบริหารโรงเรียนตามนโยบายการเปิดเรียนแบบปกติหลังสถานการณ์ระบาดของโรคโควิค-19 โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(6), 195-204. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/assr/article/view/263719

พระมหาทัพยา ปิยวณฺโณ (แจ่มจำรัส). (2565). กระบวนการพัฒนาปัญญาตามหลักวุฑฒิธรรม [วิทยานิพนธ์ปริญญษดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย]. MCU Digital Collections. https://e-thesis.mcu.ac.th/thesis/4735

พระมหาบุญยงค์ ปุญฺญญาโณ (พลสิงห์). (2561). การศึกษาการบริหารความเสี่ยงทางด้านการเรียนการสอนของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย]. MCU Digital Collections. https://e-thesis.mcu.ac.th/thesis/379

พระมหาสุชิน วชิราโณ (เชยผลบุญ). (2561). การประยุกต์ใช้หลักธรรมเชิงพุทธของผู้บริหารในการบริหารงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พะยอม วงศ์สารศรี. (2542). องค์การและการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 7). พรานนกการพิมพ์.

มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย. (2566, 26 มกราคม). การแพร่ระบาดของโควิด-19 สร้างผลกระทบต่อการศึกษาไทยที่สำคัญ 3 ประการ. Kenan Foundation Asia. https://www.kenan-asia.org/th/uncategorized-th/covid-19-education-impact

ร่มไทร ไมตระรัตน และนงลักษณ์ ใจฉลาด. (2566). การศึกษาสภาพการบริหารความเสี่ยงในสถานการณ์ การแพร่เชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์. วารสารการบริหารจัดการและนวัตกรรมท้องถิ่น, 5(1), 162-175. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jmli/article/view/260547

รัตนา กาญจนพันธุ์. (2563). การบริหารสถานศึกษาในสถานการณ์วิกฤตไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 10(3), 545-556. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/248365

วสันต์ ศรีสุวรรณโณ และรุจิราพรรณ คงช่วย. (2566). การบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ในสถานการณ์โควิด-19. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 173-191. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/260973

ศิริกัญญา ศิริเลิศ, สถิรพร เชาวน์ชัย, และวิทยา จันทร์ศิลา. (2565). แนวทางการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของโรงเรียนบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(6), 224-235. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/253869

ศิริกุล แสงศรี และนงลักษณ์ ใจฉลาด. (2565). การศึกษาการพัฒนาสมรรถนะครูตามสถานการณ์แพร่เชื้อไวรัส โคโรน่า (COVID-19) ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(6), 194-204. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/254340

สุพรรณี แผ่นทอง และศันสนีย์ จะสุวรรณ์. (2564). ความเสี่ยงของสถานศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19. ใน นันทิยา น้อยจันทร์ (บ.ก.), การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14 (น. 1156). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

Best, J. W. (1977). Research in education (3nd ed.) Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-21