คุณภาพการให้บริการของกลุ่มงานทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตภาคเหนือตอนบน
คำสำคัญ:
กลุ่มงานทะเบียนและวัดผล, คุณภาพการให้บริการ, สังคหวัตถุ 4บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการของกลุ่มงานทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) วิทยาเขตภาคเหนือตอนบน 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้รับบริการต่อคุณภาพการให้บริการของกลุ่มงานทะเบียนและวัดผล มจร.วิทยาเขตภาคเหนือตอนบน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของกลุ่มงานทะเบียนและวัดผล มจร.วิทยาเขตภาคเหนือตอนบน เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตมจร.วิทยาเขตภาคเหนือตอนบน จำนวน 320 รูป/คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่า t-test และทดสอบค่า F-test แบบ One Way ANOVA และการวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 14 รูป/คน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาแบบพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
- ระดับคุณภาพการให้บริการของกลุ่มงานทะเบียนและวัดผล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.06, S.D.=0.681) ระดับคุณภาพการให้บริการของกลุ่มงานทะเบียนและวัดผลฯ ตามหลักสังคหวัตถุ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.10, S.D.=0.688)
- เปรียบเทียบความคิดเห็นผู้รับบริการต่อคุณภาพการให้บริการของกลุ่มงานทะเบียนและวัดผลฯ พบว่า ผู้รับบริการที่มีชั้นปี คณะ และสังกัดวิทยาเขตต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการของกลุ่มงานทะเบียนและวัดผลฯ โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้รับบริการที่อยู่คณะต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการของกลุ่มงานทะเบียนและวัดผลฯ ตามหลักสังควัตถุ 4 โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
- แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของกลุ่มงานทะเบียนและวัดผลฯ พบว่า ควรเพิ่มอัตรากำลังของเจ้าหน้าที่ในการรับบริการให้เพียงพอกับความต้องการของผู้รับบริการ ควรจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีในการให้บริการอย่างเพียงพอและทันสมัย
References
กมลวรรณ แสนคำลือ. (2557). การให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมของสำนักทะเบียนและท้องถิ่นเทศบาลเมืองลำพูน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย]. MCU Digital Collections. https://e-thesis.mcu.ac.th/thesis/2098
กาญจนา คงนุ้ย, ชูศักดิ์ เอกเพชร, และสมคิด นาคขวัญ. (2559). ประสิทธิภาพการให้บริการงานทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 8(1), 30-44. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/nakboot/article/view/96337
กาญจนา ทวินันท์ และแววมยุรา คำสุข. (2558). คุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าในธุรกิจการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 7(2), 151-167. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bahcuojs/article/view/130283
นิพนธ์ เรืองหิรัญวนิช. (2560). คุณภาพการให้บริการของกองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(2), 2677-2689. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/105864
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2550). ธรรมนูญชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 82). พิมพ์สวย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักทะเบียนและวัดผล. (2564). สถิตินิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปีการศึกษา 2564. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักวิชาการ. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปี สำนักวิชาการ 2564 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่. สำนักวิชาการ.
สิทธิกร สมบูรณ์พร้อม, สามารถ อัยกร, และชาติชัย อุดมกิจมงคล. (2564). คุณภาพการให้บริการของสำนักทะเบียนอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 18(80), 127-134. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/SNGSJ/article/view/242823
อภินันต์ จันตะนี. (2549). การใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูล สำหรับการวิจัยทางธุรกิจ. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
อิสริยา ใจซื่อ. (2563). คุณภาพการให้บริการของคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 7(1), 409-418. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/245129
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มมร ล้านนาวิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ