ประสิทธิภาพการจัดการขยะของเทศบาลนคร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • กรวิชญ์ การอุภัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, การจัดการ, ขยะ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการจัดการขยะของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการจัดการขยะของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากประชาชนในเขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 397 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ประชาชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 46-60 ปี ส่วนใหญ่มีการศึกษาปริญญาตรี มีอาชีพรับจ้างทั่วไปมีรายได้ต่อเดือน 10,001-20,000 บาท จำนวนสมาชิกในครัวเรือน 4-5 คน และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 15 ปีขึ้นไป
  2. ความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการจัดการขยะของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ในภาพรวมมีความคิดเห็นในระดับมาก และเมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้านพบว่า ด้านการบริหารกิจการของเทศบาล ด้านการสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนและภาคประชาชน ด้านการกำจัดขยะที่ถูกสุขลักษณะ และด้านการหมุนเวียนขยะนำกลับมาใช้ประโยชน์ มีความคิดเห็นในระดับมาก
  3. การเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการจัดการขยะของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชน พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน จำนวนสมาชิกในครัวเรือน และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการจัดการขยะของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาแตกต่างกัน

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2559). แผนแม่บท การบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564). กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2020/05/pcdnew-2020-05-24_04-53-54_546825.pdf

เขมภัทท์ เย็นเปี่ยม, อานุภาพ รักษ์สุวรรณ, และดนุสรณ์ กาญจนวงศ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพของเทศบาลเมืองหัวหิน. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ศรินทร์ทิพย์ บุญจันทร์ และจักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะของแม่บ้าน ในตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(1), 180-190. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JournalGradVRU/article/view/119491

ยุวัลดา ชูรักษ์, จิรัชยา เจียวก๊ก, สันติชัย แย้มใหม่, ยุทธกาน ดิสกุล, และฉัตรจงกล ตุลนิษกะ. (2560). รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของเทศบาลตำบลเขาหัวช้างอำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง. ใน วิทวัส ดิษยะศริน สัตยารักษ์ (บ.ก.), การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 8 (น. 755-767). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สำนักงานเทศบาลนครจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2565). ข้อมูลการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนของ อปท. สืบค้น 6 สิงหาคม 2565, จาก https://www.ayutthayalocal.go.th/news_trash/?page=1&search=ขยะ

สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย. (2556). รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2556. สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตรายกรมควบคุมมลพิษ.

อภิชาติ ตั้งปรัชญากูล, สุวารีย์ ศรีปูณะ, และสม นาสอ้านะ. (2559). ผลของการใช้รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยอย่างครบวงจรแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ในเขตเทศบาลตำบลสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 6(3), 123-137. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/69106

ฮารูน มูหมัดอาลี. (2561). รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 4(2), 297-314.

Yamane, T. (1967). Statistics: an introductory analysis (2nd ed.). Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28