การพัฒนารูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1
คำสำคัญ:
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, การบริหารจัดการและการเรียนรู้, รูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการเรียนรู้ของสถานศึกษา 2) ร่างรูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการเรียนรู้ของสถานศึกษา 3) ประเมินรูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 การวิจัยมี 3 ขั้นตอน 1) ศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการเรียนรู้ของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 304 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) ร่างรูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เลือกแบบเจาะจง โดยใช้แบบสัมภาษณ์การสนทนากลุ่ม 3) ประเมินรูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบใช้สถิติความถี่และค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการเรียนรู้ของสถานศึกษา พบว่า โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารการจัดการเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ด้านการสร้างบรรยากาศเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และด้านการส่งเสริมสนับสนุนการใช้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
- รูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการเรียนรู้ของสถานศึกษา มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารการจัดการเรียนรู้ 2) ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ 3) สร้างบรรยากาศเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ 4) ส่งเสริมสนับสนุนการใช้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
- ผลประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการเรียนรู้ของสถานศึกษา พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในร้อยละ 96.23
References
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2554). กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ.2554-2563 ของประเทศไทย. https://www.mdes.go.th/content/download-detail/2965
กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แผนแม่บทเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2554-2556. https://bict.moe.go.th/wp-content/uploads/2022/03/digital-54-56.pdf
ฐาปณี นาคภูมิ. (2562). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนโสตศึกษา ในภาคกลาง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต]. RSUIR at Rangsit University. https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/97
ณัฐชลิดา ประกิ่ง. (2561). สภาพ ปัญหา และแนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ทัศไนย คะนึงเหตุ. (2559). สภาพการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลบางบัวทอง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (ฉบับที่ 2) และที่แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545 และ (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2553. (2553, 22 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 ตอนที่ 45 ก. หน้า 22-23.
พัชญ์พิชา จันทา. (2563). แนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]. DSpace at Rajamangala University of Technology Thanyaburi. http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3909
พิรดา มาลาม, สมเจตน์ ภูศรี และเสน่ห์ คำสมหมาย. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วารสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 13(1), 23-37. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmuj/article/view/254045
วิมาน กะริอุณะ. (2561). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ศศิกาญจน์ แปงงามนวกุล. (2561). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1. University of Phayao Digital Collections. http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/78
สมเกียรติ ดาสา, สิทธิพร ประวัติรุ่งเรือง, และขวัญหญิง ศรีประเสริฐภาพ. (2565) รูปแบบการบริหารจัดการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 16(46), 510-526. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/257788
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ. (2545). กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2544 – 2553 ของประเทศไทย. ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing (5th ed.). UCL Press.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Likert, R. (1961). New Patterns of Management. McGraw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มมร ล้านนาวิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ