การพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงพื้นที่สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, การบริหารเชิงพื้นที่, โรงเรียนขนาดเล็กบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ 2) สร้างตรวจสอบยืนยัน/ความเหมาะสม 3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์การพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงพื้นที่สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 273 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ 2) แบบสัมภาษณ์โรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี (Best practice) 3) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม 4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ 5) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็นด้วยค่าดัชนี PNImodified
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็น เรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อยได้แก่ 1) การมีเป้าหมายร่วมกัน 2) การพัฒนาสารสนเทศแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ 3) ความรับผิดชอบต่อสังคม 4) การกระจายอำนาจ 5) การมีส่วนร่วม
- รูปแบบการบริหารเชิงพื้นที่สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก ผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
- ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ของการพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงพื้นที่สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
References
กัญจนา สัณฐาน และประกอบ คุณารักษ์ . (2562). กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาประถมศึกษาขนาดเล็กในเขตพื้นที่ชนบท เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามจุดเน้นของนักเรียน. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 15(2), 132-157. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jla_ubu/article/view/241656
ช่วงมณี จงเพียร พุฒสุข. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
ปกิตตา ปานเกษม. (2565). การบริหารจัดการสถานศึกษาขนาดเล็กที่ดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง (Stand Alone) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. (2565). รายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. http://web.kkn5.go.th/wp-content/uploads/2023/04/O13-รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ-ปี.pdf
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สิริกาญจน์ แก้วคำไสย์. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนยุคใหม่ของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์ . (2562). กลยุทธ์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 30(3), 199-214. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/244314
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มมร ล้านนาวิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ