ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการภาครัฐแนวใหม่ ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • พิชญา โพชราษฎร คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • สำราญ วิเศษ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • จารุกัญญา อุดานนท์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

คำสำคัญ:

การจัดการภาครัฐแนวใหม่, หลักธรรมาภิบาล, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการจัดการภาครัฐแนวใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขต อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการภาครัฐแนวใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขต อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม จำนวน 289 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา และใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน โดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการศึกษาพบว่า ระดับการจัดการภาครัฐแนวใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัด นครพนม โดยรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 4.02) และระดับปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการภาครัฐแนวใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม โดยรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 4.26) ความสัมพันธ์กับการจัดการภาครัฐแนวใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม มีความสัมพันธ์กันในระดับสูงทางบวก (r มีค่าอยู่ระหว่าง .67 - .80) มีลักษณะคล้อยตามกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์พหุคูณ (r= 0.72, p-value<0.01) สามารถพยากรณ์ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการภาครัฐแนวใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ร้อยละ 79.2 (R2 = .792, p-value<0.01)

References

กริช เทียมสุวรรณ์. (2560). การจัดการภาครัฐแนวใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัวอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ตามการรับรู้ของประชาชน. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

กัญญาพัชร อยู่สบาย. (2562). การปฏิบัติงานขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในบริบทระบบราชการ 4.0 กรณีศึกษา การปฏิบัติงานของสำนักงานปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรืออำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง. http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/index.php/abstractData/viewIndex/271

ฐิติพร ฉิมย้อย, วราภรณ์ ทรัพย์รวงทอง, และวาสิตา เกิดผลประสพศักดิ์. (2565). การจัดการภาครัฐแนวใหม่ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลหัวนา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(9), 382-395. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/255600

ธนวรรธร์ สุรมรรคา. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดากรภาครัฐแนวใหม่: กรณีศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม. โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง. http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/index.php/abstractData/viewIndex/448

ธัชฎามาศ อุไรวรรณ. (2566). รูปแบบการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อการจัดบริการสาธารณะ เขตเทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 13(1), 24-41. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/262776

ธิษณารินทร์ เหลืองจิรโชติกาล. (2565). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่กับการจัดบริการสาธารณะ ของเทศบาลในจังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 16(1), 148-157. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/254178

ปวีณา เกื้อนุ้ย. (2565). การจัดการภาครัฐแนวใหม่กับการพัฒนานวัตกรรมการให้บริการ: กรณีศึกษาสำนักงานที่ดินจังหวัดนครราชสีมา สาขาปากช่อง. โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง. http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/files/2565_1681982081_6414830015.pdf

วิภาภัทร์ ธิโนชัย, สมเกียรติ เกียรติเจริญ, และรังสรรค์ อินทน์จันทน์. (2562). ปัจจัยการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(2), 207-224. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/233176

สมชาย บุญกาญจน์, วัชรินทร์ สุทธิศัย, และรังสรรค์ อินทน์จันทน์. (2562). การบูรณาการการจัดการภาครัฐ แนวใหม่ในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดชุมพร. วารสารบัณฑิตศึกษา ปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 7(1), 207-223. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jgsnsbc-journal/article/view/192531

สุนารี สุกิจปาณีนิจ, ศุภณัฏฐ์ ทรัพย์นาวิน, และโสภาพร กล่ำสกุล. (2562). รูปแบบการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อการจัดบริการสาธารณะ เชิงผลสัมฤทธิ์ของเทศบาล อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 12(5), 1157-1172. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/178079

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-03