รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้แต่ง

  • พระปลัดพงศธร ประมวลการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • สมบัติ นพรัก มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ธิดาวัลย์ อุ่นกอง มหาวิทยาลัยพะเยา
  • น้ำฝน กันมา มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, สมรรถนะผู้บริหาร, โรงเรียนพระปริยัติธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม 2) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม มี 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และตรวจสอบรูปแบบโดยการสนทนากลุ่มของผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 รูป/คน และขั้นตอนที่ 2 การประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จำนวน 201 รูป เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ ชนิดมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มี 5 องค์ประกอบหลัก คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ประเด็นการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม 4) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม 5) เงื่อนไขความสำเร็จ และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสมของรูปแบบอยู่ในระดับมาก
  2. รูปแบบมีความเป็นได้ในการไปใช้ และความเป็นประโยชน์ระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2664). สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.

ขจรศักดิ์ ศิริมัย. (2554). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมรรถนะ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). ข้าวฟ่าง.

นริศ มหาพรหมวัน. (2561). รูปแบบสมรรถนะผู้นำโรงเรียนเอกชนสู่มาตรฐานสากล [วิทยานิพนธ์ปริญญดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่]. Chiang Mai Rajabhat University Intellectual Repository. http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1872

ประเวศ วะสี. (2553). แผนชีวิตชุมชนและการพัฒนาที่ยั่งยืน. เครือข่ายแผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเอง 4 ภาค

ปรียานุช ธรรมปิยา. (2558). การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา (พ.ศ. 2549-2558). ศูนย์สถานศึกษาพอเพียง มูลนิธิยุวสถิรคุณ.

วิจิตร ศรีสอ้าน. (2550, 23 มีนาคม). คุณธรรม 8 ประการ. สยามรัฐ.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. ทิพยวิสุทธิ์.

ศาลินา บุญเกื้อ และนันทกาญจน์ ชินประหัษฐ์. (2557). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์การถอดบทเรียนและวิเคราะห์อัตลักษณ์ศูนย์การเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา. ศูนย์สถานศึกษาพอเพียง มูลนิธิยุวสถิรคุณ.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2552). แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา (พุทธศักราช 2553-2562). โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2560). แผนยุทธศาสตร์สานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 20 ปี: ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2560-2564). โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

สิปปนนท์ เกตุทัต. (2552). อนาคตของอุดมศึกษาไทย. วารสารศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2(2), 1-4.

อนันต์ พันนึก. (2554). การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-03