การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการขยะ ขององค์การบริหารส่วนตำบลดู่พงษ์ อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน
คำสำคัญ:
การประยุกต์หลักพุทธธรรม, การมีส่วนร่วมของประชาชน, การบริหารจัดการขยะ, องค์การบริหารส่วนตำบลดู่พงษ์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการขยะ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักอปริหานิยธรรม 7 กับการบริหารจัดการขยะ 3) ศึกษาการประยุกต์หลักอปริหานิยธรรม 7 เพื่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลดู่พงษ์ อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่าง 365 คน โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้วิเคราะห์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูป/คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
- ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการขยะ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
- ความสัมพันธ์ระหว่างหลักอปริหานิยธรรม 7 กับการบริหารจัดการขยะ มีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
- รูปแบบการประยุกต์หลักพุทธธรรม เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการขยะ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ 1) มีความรู้ คือ การค้นหาองค์ความรู้ในการแปรรูปขยะให้เป็นแบบมีส่วนร่วม 2) มีนวัตกรรม เป็นการนำองค์ความรู้ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ มาประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ 3 ) หลักพุทธธรรม เป็นการขับเคลื่อนกิจกรรมที่มีการกำหนดโครงการ รูปแบบและกิจกรรมชุมชนจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมตามหลักพุทธธรรม จากกิจกรรมต่าง ๆ 4) มีส่วนร่วม เป็นการสร้างพลังร่วมโดยอาศัยความร่วมมือในชุมชน 5) มีการติดตามผล เป็นการประเมินผลการแปรรูปขยะแบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลดู่พงษ์ อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน
References
เกศี จันทราประภาวัฒน์ (2565). พุทธบูรณาการส่งเสริมประสิทธิผลการจัดการขยะของเทศบาลนครลำปาง[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย]. MCU Digital Collections. https://e-thesis.mcu.ac.th/thesis/4699
เจริญชัย กุลวัฒนาพร (2563). รูปแบบการจัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรปราการ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูภาวนาโสภิต วิ (บุญญรัตน์ เมืองวงศ์). (2556). พุทธธรรมาภิบาล. สำนักพิมพ์รัฐพลการพิมพ์.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 9). มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระนุชิต นาคเสโน (โพวิชัย). (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานกำจัดมูลฝอยของเทศบาลตำบลทุ่งหลวง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย]. MCU Digital Collections. https://e-thesis.mcu.ac.th/thesis/497
พระมาโนช สุทฺธจิตฺโต (ผุดผาด) (2565). รูปแบบการแปรรูปขยะให้เป็นพลังงานสะอาดแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลตลาดจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย]. MCU Digital Collections. https://e-thesis.mcu.ac.th/thesis/4510
ยุทธพงษ์ กัยวรรณ์, (2543). พื้นฐานการวิจัย. สุวีริยาศาสตร์.
รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร. (2552). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของประชาชนเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
ศิรินรักษ์ สังสหชาติ. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงกอก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). http://nscr.nesdc.go.th/wp-content/uploads/2023/06/NS_PlanOct2018.pdf
สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2565). บทสรุปผู้บริหารโครงการศึกษาการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนระดับประเทศ. LIRT คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ. https://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/viewer.php
อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า (2563). โมเดลสมการโครงสร้างประสิทธิผลการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอ่างทอง [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย]. MCU Digital Collections. https://e-thesis.mcu.ac.th/thesis/2548
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มมร ล้านนาวิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ