การพัฒนารายวิชาวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นเรื่อง การจ่าต๋อง ของโรงเรียนวัดพญาชมภู ตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
จ่าต๋อง คือ กระบวนการในการทำให้ใบตองอ่อนแห้งโดยใช้เตาปูนและถุงทรายที่ร้อนจนทำให้ใบตองนั้นแห้งทั้งสองด้าน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับกระบวนการจ่าต๋องที่มีหลักการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องอยู่ 2) เพื่อพัฒนารายวิชาวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นเรื่อง การจ่าต๋อง ของโรงเรียนวัดพญาชมภู ตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) ศึกษาผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่ได้รับการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นเรื่อง การจ่าต๋อง กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนวัดพญาชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น แผนการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นเรื่อง การจ่าต๋อง จำนวน 5 แผน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ กระบวนการจ่าต๋อง พบหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในด้านฟิสิกส์ คือ พลังงานความร้อน การถ่ายโอนความร้อน และแรงกดใบตอง ในด้านเคมี คือ การระเหย การเปลี่ยนสถานะของสาร ในด้านชีววิทยา คือ กล้วยและลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของกล้วย ในการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นเรื่อง การจ่าต๋อง ได้แผนการจัดการเรียนรู้ทั้งหมด 5 แผน จำนวน 12 คาบ ที่ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
Ja Tong was the drying process of young banana leaf using hot limekiln and sand bag until both sides of the leaves are dried. The purpose of this research was to 1) analyze the local wisdom concerning Ja Tong creation related with some science principles 2) develop local science subject on Ja Tong for Wat Phayachompu School, Chompu Sub-district, Saraphee District, Chiang Mai Province, and 3) study the learning results of the students who were taught via the local science subject on Ja Tong. The populations for this research were 17 Prathomsuksa VI students enrolled in the 2nd semester of 2011 academic year, at Wat Phayachompu School, Saraphee District, Chiang Mai Province. The instruments used in the research were composed of 5 local science subject learning plans on Ja Tong, achievement test, and local wisdom interview form. The data were analyzed in terms of percentage, mean, and standard deviation. The findings are as follows : Ja Tong creating process, findings the science principles related in physics on heat energy, heat transfer and stress, in chemistry on evaporation and changing of the state of matter, and in biology on banana and its botanical characteristics. Development of learning plan of the local science subject on Ja Tong, it was found that 5 learning plans were developed for 12 teaching periods so the student learning achievement was higher.
Article Details
How to Cite
บท
บทความวิจัย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว