การศึกษาผลการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เทคนิค เค ดับบลิว แอล พลัส

Main Article Content

ปิ่นทอง คีรีอร่ามรัศมี
ชาตรี มณีโกศล
ณัฐวุฒิ ณ ปั่น

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนหลังจากที่เรียนโดยกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค เค ดับบลิว แอล พลัส 2) ศึกษาประเภทการใช้คำถามของนักเรียนตามกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค เค ดับบลิว แอล พลัส 3) ศึกษาความ พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้เทคนิค เค ดับบลิว แอล พลัส ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านห้วยเสือเฒ่า (เจ้ากอแก้วอุปถัมภ์) อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค เค ดับบลิว แอล พลัส จำนวน 16 แผน ใช้เวลา 16 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 18 ข้อ 3) แบบบันทึกการตั้งคำถามของนักเรียน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค เค ดับบลิว แอล พลัส เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 17 ข้อ วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย (μ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (\sigma)

ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค เค ดับบลิว แอล พลัส สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ 2) คำถามที่นักเรียนใช้มากที่สุดในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเค ดับบลิว แอล พลัส คือ คำถามประเภทความรู้ รองลงมา คือ คำถามประเภทความเข้าใจคำถามประเภทการนำไปใช้ คำถามประเภทการวิเคราะห์ และคำถามประเภทการประเมินค่าส่วนคำถามประเภทที่ใช้น้อยที่สุด คือ คำถามประเภทการสังเคราะห์ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค เค ดับบลิว แอล พลัส โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความพึงพอใจมากที่สุดในด้านการวัดและประเมินผล และพึงพอใจน้อยที่สุดในด้านเนื้อหา

 

The purpose of this study were 1) to study the reading skills for main idea of Prathomsuksa 3 students after learning through the KWL-PLUS technique 2) to study the types of questions for the students through the KWL-PLUS technique 3) to study the students’ level of satisfaction with learning reading skill for main idea using the KWL-PLUS technique. The samples for this study were 14 Prathomsuksa 3 students in Ban Huai Suea Thao School (Chowdkobkaewpatham) in the second semester of 2012. The tools for this study were 1) 16 instructional plans using the KWL-PLUS technique lasting for 16 hours 2) 18 reading skill tests 3) the questioning of students assessment forms and 4) 17 the students’ satisfaction with by learning through the KWL-PLUS technique test for 5-level scale. The collected data were analyzed mean and standard deviation.

The results were : 1) the reading skills for main idea of Prathomsuksa 3 students after learning through the KWL-PLUS technique was higher than before learning 2) the most type of question for the students through KWL-PLUS technique was the knowledge questions, followed by the understanding questions, the adoption question, the analysis questions, the valuation question and the synthesis questions were the least type of question 3) the students’ level of satisfaction with learning through the KWL-PLUS technique was at a high level, the measurement and evaluation had the most satisfaction and the content had the least satisfaction.

Article Details

บท
บทความวิจัย