พฤติกรรมและความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาดของปุ๋ยเคมีของเกษตรกรไร่มันสำปะหลังในจังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง พฤติกรรมและความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาดของปุ๋ยเคมีของเกษตรกรไร่มันสำปะหลัง ในจังหวัดนครราชสีมา ผลการวิจัยพบว่า (1) พฤติกรรมของเกษตรกรไร่มันสำปะหลัง ส่วนใหญ่เลือกซื้อปุ๋ยเคมีก่อนการเพาะปลูก เพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโต โดยคำนึงถึงยี่ห้อของปุ๋ยเคมีเป็นอันดับแรก ทำการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง มีการซื้อปุ๋ยเคมี 1-2 ครั้งต่อปี ครั้งละจำนวน 6-20 กระสอบ การซื้อปุ๋ยเคมีในแต่ละครั้งจะใช้เงินจำนวน 10,001–50,000 บาท ซึ่งมีการซื้อปุ๋ยเคมีจากร้านค้าจำหน่ายใกล้บ้าน โดยจ่ายเงินสด และเกษตรกรไร่มันสำปะหลังได้รับข่าวสารของปุ๋ยเคมีจากเพื่อนบ้าน/ผู้นำกลุ่ม (2) เกษตรกรไร่มันสำปะหลังมีความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาด ภาพรวมในระดับมาก (3) เกษตรกรไร่มันสำปะหลังที่มีจำนวนพื้นที่ทำกิน ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อปี สถานภาพ อายุ และเพศ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อปุ๋ยเคมี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) เกษตรกรไร่มันสำปะหลังที่มีระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อปี จำนวนพื้นที่ทำกิน มีความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (5) พฤติกรรมของเกษตรกรไร่มันสำปะหลัง มีความสัมพันธ์และมีผลต่อส่วนประสมทางการตลาดทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ด้านราคา ด้านสถานที่/การจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด
This study investigated Behavior and Satisfaction on Marketing Mix of Chemical Fertilizers of Cassava Agriculturists in Nakhon Ratchasima Province. The findings revealed that ; (1) The buying behavior of cassava agriculturists was shown as following ; Most of them bought the chemical fertilizers before they started their planting, in order to stimulate the growth. The first aspect that they considered was the brand of the chemical fertilizers. They decided to buy by themselves. They bought the chemical fertilizers once, or twice a year, in the amount of 6-20 sacks. They paid 10,001-50,000 baht per time by cash, and usually bought the chemical fertilizers from the shops nearby their houses. And they got the information of chemical fertilizers from their neighbors/group leader. (2) The satisfaction level towards marketing mix of the chemical fertilizers of cassava agriculturists was at a high level. (3) The amount of farmland, educational, average yearly income, status, age and gender of cassava agriculturists had related with the buying behavior, and it showed significant difference at 0.05 level. (4) The cassava agriculturists who differed in educational background, average yearly income and farmland showed different satisfaction level towards marketing mix. (5) The behavior of cassava agriculturists related and influenced on marketing mix in the aspects of product, price, place/distribution, and promotion.
Article Details
How to Cite
บท
บทความวิจัย
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว