ประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพกับผลที่มีต่อการดำรงชีวิตของชาวไทยเชื้อสายจีนตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

พัชรี ดินฟ้า

บทคัดย่อ

ประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพกับผลที่มีต่อการดำรงชีวิตของชาวไทยเชื้อสายจีน ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพ่ือศึกษากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชาวไทยเชื้อสายจีน กับชุมชนท้องถ่ินในตำบลปากน้ำโพ ประเพณีความเชื่อแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพกับผลที่มีต่อการดำรงชีวิตของชาวไทยเชื้อสายจีน ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ในด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และด้านการเมืองการปกครอง และศึกษากลไกการจัดการทางสังคม โดยมีองค์กรกลางทำหน้าที่เชื่อมประสานชาวไทยเชื้อสายจีน กับชุมชนท้องถิ่นในตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ในด้านการเผยแพร่ประเพณีความเชื่อการแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ แก่ชุมชนท้องถิ่นในตำบลปากน้ำโพ และการเผยแพร่พิธีกรรมการแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพแก่ชุมชนท้องถิ่นในตำบลปากน้ำโพ

วิธีการดำเนินการวิจัยและเก็บข้อมูล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการศึกษากระบวนการแลกเปล่ียนเรียนรู้ระหว่างชาวไทยเชื้อสายจีนกับชุมชนท้องถิ่นในตำบลปากน้ำโพให้แก่ประชาชนท้องถิ่นและหน่วยงานราชการ ห้างร้าน และนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ลงพื้นที่เก็บข้อมูลที่ตำบลปากน้ำโพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ ใช้แบบสอบถาม และจัดอบรมเชิงปฏิบัติการศึกษากลไกการจัดการทางสังคม โดยมีองค์กรกลางทำหน้าที่เชื่อมประสานกับชาวไทยเชื้อสายจีนกับชุมชนท้องถิ่นในประเพณีการแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ ใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ การแจกแจงความถี่ การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง การวัดการกระจาย

ผลการศึกษาพบว่า ความเชื่อการแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพในปัจจุบัน ที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของชาวไทยเชื้อสายจีน ในด้านเศรษฐกิจ โดยพ่อค้าประชาชนมีรายได้จากการขายของฝากและของที่ระลึก ทำให้เกิดการสืบทอดและสืบสานวัฒนธรรมประเพณีความเชื่อการแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้เกิดกิจกรรมการร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานราชการ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในชุมชนปากน้ำโพ อนุรักษ์และปฏิบัติตามแบบแผนประเพณีที่ชุมชนกำหนดไว้อย่างต่อเนื่อง และมีการถ่ายทอดสิ่งที่ดีงามให้แก่อนุชนรุ่นหลัง โดยการจัดให้มีการแห่ขบวนเจ้าพ่อ-เจ้าแม่รอบปากน้ำโพในเทศกาลตรุษจีนทุกปี การเผยแพร่ประเพณีความเชื่อการแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพแก่ชุมชนท้องถิ่น มีวิธีการโดยการปลูกฝังความเชื่อที่ถูกสั่งสอนและสั่งสมมาจากบรรพบุรุษที่มีต่อประเพณีความเชื่อการแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพแก่ชุมชนท้องถิ่นในตำบลปากน้ำโพ การเผยแพร่พิธีกรรมการแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพแก่ชุมชนท้องถิ่นในตำบลปากน้ำโพ ในรูปพิธีกรรมแบบนามธรรม เผยแพร่โดยผ่านทางร่างทรงเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ ส่วนแบบรูปธรรม เผยแพร่โดยผ่านทางการประกอบพิธีกรรมไหว้เจ้าที่ศาลเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ และขบวนแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ องค์กรกลางทำหน้าที่เชื่อมประสานชาวไทยเชื้อสายจีนกับชุมชนท้องถิ่นในตำบลปากน้ำโพ คือ ในงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพของทุกปี จะมีคณะกรรมการจัดงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ เป็นผู้รับผิดชอบการจัดงานแห่ มีการประสานงานกับหน่วยงานของรัฐบาลและพ่อค้าประชาชนในชุมชนปากน้ำโพ จัดประชุมคณะกรรมการจัดงานเพื่อระดมความคิดเห็นจากทุกฝ่ายในการบูรณาการการวางแผนการจัดงานและจัดสรรหางบประมาณ มีการสรรหาผู้สนับสนุนในการจัดงาน มีการกระจายความรับผิดชอบในการจัดงาน เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ

 

This research aims to study the knowledge exchange process between the Chinese- Thai population and the local community in Paknampho district. The study focuses on the Paknampho Chinese God Festival which influences the Chinese-Thai population in economic aspect, social aspect, local art and cultural, along with local politics and government. The researcher also studied about social management mechanism which has a social organization connects the Chinese-Thai population and the local community in Paknampho Chinese God Festival.

The research used the method to Qualitative Research. training seminar to study the knowledge exchange process between the Chinese-Thai population and the local community in Paknampho district and training seminar The study group are local people, government sector and local entrepreneur in Pakampho, Muang district, Nakhonsawan. Research is using the Descriptive Statistics which aims to explain only the study group’s information without concerning the other group of population. The methods are frequency distribution, measures of central tendency (Mean, Median, Mode) Measure of Dispersion

The research found of the people think that Paknampho Chinese God Festival influences the Chinese-Thai Population in Nakhonsawan especially in economic aspect because the local entrepreneurs have a good chance to sell the goods and souvenirs. that they got the information about the festival from the advertisement board. that Paknampho Chinese God Festival which influences the Chinese-Thai Population in the art and cultural aspect and promote the tourism. The conclusion from the information above is that the study groups think that the Paknampho Chinese God Festival influences the Chinese-Thai Population in Nakhonsawan in the art and culture aspect. The festival should organize by the committee cooperate with the local government sector and local entrepreneur. The Festival has an impact on the Paknampho population because it is a well-known festival which continues the beautiful culture from the ancestor to the new generation.

Article Details

บท
บทความวิจัย