กระบวนการยุติธรรมของข้าราชการครูกับกฎนิคหกรรมที่ใช้กับพระสงฆ์ ที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการยุติธรรมของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และกระบวนการยุติธรรมของพระสงฆ์ที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของกระบวนการยุติธรรมที่ใช้กับข้าราชการครูและพระสงฆ์ที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาและ 3) วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ข้อดี ข้อเสีย ทางออกที่ควรจะเป็นเพื่อประโยชน์ของการพัฒนากระบวนการยุติธรรมของข้าราชการครูกับกฎนิคหกรรมที่ใช้กับพระสงฆ์ที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
กระบวนการยุติธรรมของข้าราชการครูหมายถึงการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาคือ การสืบสวน การสอบสวนเพื่อดำเนินการทางวินัยมี 2 ประเภท คือ (1) วินัยไม่ร้ายแรง และ(2) วินัยร้ายแรง โทษทางวินัยมี 5 สถาน คือ (1) ภาคทัณฑ์ (2) ตัดเงินเดือน (3) ลดขั้นเงินเดือน (4) ปลดออก และ (5) ไล่ออก
กฎนิคหกรรมที่ใช้กับพระสงฆ์ที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา หมายถึง การดำเนินการทางวินัยแก่พระสงฆ์ ที่เป็นผู้บริหารและเป็นครูผู้สอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พบว่าการลงนิคหกรรมพระสงฆ์ มี 2 ประเภท คือ (1) ไม่ให้สึก และ (2) ให้สึก เป็นมาตรการทางปกครองคณะสงฆ์ที่มหาเถรสมาคมกำหนดขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือกำราบการกระทำความผิดวินัยของพระสงฆ์ การลงนิคหกรรมเป็นอำนาจหน้าที่ของพระสังฆาธิการ
กระบวนการยุติธรรมกระบวนการยุติธรรมของข้าราชการครูกับกฎนิคหกรรมที่ใช้กับพระสงฆ์ที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษามีทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกัน พบว่าผู้ร่วมพิจารณาต้องนำจุดอ่อน จุดแข็ง ข้อดี ข้อเสีย และสามารถสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ แก่ข้าราชการครูและพระสงฆ์อย่างแท้จริง
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว