การพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดกิจกรรมและประเมิน การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนของครูผู้สอน โรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษาในเขตภาคเหนือตอนบน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการ การพัฒนารูปแบบการนิเทศ และประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศการจัดกิจกรรมและประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนของครูผู้สอนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในเขตภาคเหนือตอนบน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาเป็นศึกษานิเทศก์ และครูผู้สอน จำนวน 310 คน ส่วนการทดลองใช้รูปแบบเป็นครูผู้สอน จำนวน 6 คน นักเรียน จำนวน 52 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบวิเคราะห์ แบบสอบถาม แบบประเมิน แบบทดสอบ และแบบสังเกต ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยนำข้อมูลมาประเมินความสมเหตุสมพล วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ผลการวิจัย พบว่า
- สภาพการจัดกิจกรรมและประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนของครูผู้สอนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในเขตภาคเหนือตอนบนในภาพรวมตามความคิดเห็นของครูผู้สอน และศึกษานิเทศก์ พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อนำมาเปรียบเทียบทางสถิติ โดยการทดสอบค่าที (t-test) มีการปฏิบัติไม่แตกต่างกัน สิ่งที่ครูผู้สอน และศึกษานิเทศก์ ต้องการมากที่สุด คือ รูปแบบการนิเทศที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม
- รูปแบบการนิเทศการจัดกิจกรรมและประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนของครูผู้สอน โรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษาในเขตภาคเหนือตอนบน มีชื่อว่า เอ พี ไอ ซี อี (APICE Model) มีความสมเหตุสมผล เชิงทฤษฎีมีความเป็นไปได้ และมีความสอดคล้อง
- ผลการใช้รูปแบบการนิเทศการจัดกิจกรรมและประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน เอ พี ไอ ซี อี (APICE Model) มีผลดังนี้
3.1 ครูผู้สอนกลุ่มทดลอง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมและประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน หลังการใช้ สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศ และเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม มีความรู้ ความเข้าใจแตกต่างกัน
3.2 ครูผู้รับการนิเทศ มีความสามารถในการจัดกิจกรรมและประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศการจัดกิจกรรมและประเมินการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียน อยู่ในระดับมากที่สุด
3.3 ผลการเรียนรู้ ความสามารถทางด้านภาษา (Literacy) ความสามารถทางด้านเหตุผล (Reasoning Abilities) ของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในเขตภาคเหนือตอนบน โดยการทดสอบ ค่าที (t-test) หลังการใช้สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว