ผลการฝึกว่ายน้ำแบบฟรีสไตล์ โดยใช้ออกซิเจนน้อย กับการกลั้นลมหายใจ ระยะทาง 50 เมตร ของนักว่ายน้ำเยาวชนเชียงใหม่

Main Article Content

เกียรติศักดิ์ โพธิ์ผำใหญ่
สมชาย กุลโสภิต
นิคม นาคอ้าย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการฝึกแบบได้รับออกซิเจนน้อย กับโปรแกรมการฝึกแบบการกลั้นลมหายใจ ที่มีผลต่อความเร็วในการว่ายท่าฟรีสไตล์ ระยะ 50 เมตร ของนักกีฬาว่ายน้ำเยาวชนเชียงใหม่ ที่มีอายุระหว่าง 9 – 12 ปี ที่คัดเลือกจากสถิติเวลาในการว่ายน้ำ ระยะทาง 50 เมตร ด้วยเวลาที่น้อยกว่า 60 วินาที กลุ่มตัวอย่างได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบง่าย ที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ และทำการคัดเลือกจนเหลือ 20 คน จากนั้นแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน กลุ่มทดลองที่ 1 ฝึกด้วยโปรแกรมการได้รับออกซิเจนน้อยด้วยสน๊อกเกิล กลุ่มทดลองที่ 2 ฝึกด้วยโปรแกรมการกลั้นลมหายใจ ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึก 8 สัปดาห์ๆละ 3 วัน โดยทำการฝึกในวันอังคาร พฤหัสบดี และเสาร์ กลุ่มทดลองทั้งสองกลุ่มทำการทดสอบเวลาก่อนการฝึก และทดสอบเวลาสัปดาห์ที่ 6 และ 8 แล้ว   นำค่าที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยความเร็วระหว่างกลุ่ม โดยใช้สถิติ ระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ t – test และกำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการวิจัยพบว่า


  1. เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของเวลาในการว่ายน้ำท่าฟรีสไตล์ระยะทาง 50 เมตร ของกลุ่มฝึกแบบได้รับออกซิเจนน้อยด้วยสน๊อกเกิล และกลุ่มฝึกแบบกลั้นลมหายใจ ก่อนการฝึกพบว่าเวลาในว่ายน้ำไม่แตกต่างกัน

  2. ทดสอบความแตกต่างของเวลาที่ใช้ในการว่ายน้ำท่าฟรีสไตล์ระยะทาง 50 เมตร ระหว่างกลุ่มฝึกแบบได้รับออกซิเจนน้อยด้วยสน๊อกเกิล และกลุ่มฝึกแบบกลั้นลมหายใจ หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6 พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. ทดสอบความแตกต่างของเวลาที่ใช้ในการว่ายน้ำท่าฟรีสไตล์ระยะทาง 50 เมตร ระหว่างกลุ่มฝึกแบบได้รับออกซิเจนน้อยด้วยสน๊อกเกิล และกลุ่มฝึกแบบกลั้นลมหายใจ หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย