ศึกษาวิเคราะห์การดำรงสมณะเพศของพระจักขุบาลเถระ

Main Article Content

พระเสาร์คำ ธีรธมฺโม (วังสิงห์)
ไพรินทร์ ณ วันนา
พระครูสิริปริยัตยานุศาสก์ -
วิโรจน์ วิชัย

บทคัดย่อ

การศึกษาวิเคราะห์การดำรงสมณะเพศของพระจักขุบาลเถระมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักการดำรงสมณะเพศในพระพุทธศาสนา  2) เพื่อศึกษาชีวประวัติและการดำรงสมณะเพศในพระพุทธศาสนาของพระจักขุบาลเถระ  3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การดำรงสมณะเพศของพระจักขุบาลเถระ          


ผลการวิจัยพบว่า  1) หลักการดำรงสมณะเพศในพระพุทธศาสนาประกอบด้วย หลักคันถธุระ หลักวิปัสสนาธุระและหลักปาริสุทธิศีลสี่  2) พระจักขุบาลเถระเป็นพระภิกษุรูปหนึ่งในพระพุทธศาสนาที่ยึดถือการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดมีความเพียรเป็นเลิศ ปฏิบัติธรรมอย่างอุกฤษฏ์จนดวงตาทั้งสองข้างแตกพร้อมกับกิเลส ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ประเภทสุกขวิปัสสกะ ท่านกลายเป็นผู้ทุพพลภาพ ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน พึ่งตนเอง ไม่เป็นภาระของคนอื่น ดำเนินชีวิตตามปกติ ทำความเพียรอย่างสม่ำเสมอ บำเพ็ญประโยชน์ทั้งต่อตนเองและคนอื่น หลังจากท่านได้บรรลุธรรมแล้ว ท่านประพฤติตนเป็นปกติ และประพฤติตนในบทบาทของพระอรหันต์โดยการแสดงธรรมแก่ประชาชนและภิกษุบริวาร 3) คุณลักษณะภายในที่โดดเด่นของท่าน คือ เป็นบุคคลประเภทพุทธิจริต ได้ยึดหลักการดำรงสมณะเพศอยู่ 4 ประการ คือ (1) หลักคันถธุระ คือ ธุระฝ่ายการเรียนคัมภีร์หรือพระไตรปิฎก (2) หลักวิปัสสนาธุระ คือ ธุระฝ่ายการเจริญวิปัสสนา (3) หลักความไม่ประมาท (4) หลักปาริสุทธิศีล 4 ท่าน ได้ดำรงเพศสมณะตามหลักทั้ง 4 ประการนี้ด้วยความเพียรพยายาม ไม่ย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรคที่จรเข้ามา จนท้ายสุดท่านได้บรรลุเป้าหมายสูงสุดความเป็นสมณะในพระพุทธศาสนา คือ พระนิพพาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551ก). การแพทย์ยุคใหม่ในพุทธทัศน์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2551ข). พจนานุกรมพุทธศาสนน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: เอส. อาร์ พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2552). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระไพศาล วิสาโล. (2546). พระพุทธศาสนาไทยในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539ก). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (เล่มที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539ข). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (เล่มที่ 9). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539ฃ). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (เล่มที่ 11). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539ค). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (เล่มที่ 12). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539ฅ). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (เล่มที่ 15). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539ฆ). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (เล่มที่ 21). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539ง). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (เล่มที่ 26). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539จ). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (เล่มที่ 40). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2559ก). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถาแปล ชุด 91. (เล่มที่ 20). นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2559ข). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถาแปล ชุด 91. (เล่มที่ 25). นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2548). ธมฺมปทัฏฐกถา (ปญฺจโม –ภาโค). (พิมพ์ครั้งที่ 25). กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.