ปัจจัยการดำรงอยู่ของพิธีกรรมแห่งชีวิตชาวไทลื้อ จังหวัดพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยการดำรงอยู่ของพิธีกรรมแห่งชีวิตชาวไทลื้อที่จังหวัดพะเยาท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมปัจจุบัน โดยใช้วิธีการทางคติชนวิทยา ว่าด้วยวิธีการวิจัยวัฒนธรรมพื้นบ้านเชิงธรรมชาตินิยม ซึ่งผู้วิจัยได้จัดวิทยากรเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพิธีกรรมแห่งชีวิต ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการสัมภาษณ์และเข้าสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมขณะประกอบพิธี แล้วจัดการสนทนากลุ่มโดยวิทยากรกลุ่มที่ 2 เพื่อศึกษาวัฒนธรรมทางพิธีกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ จากนั้นทำการสังเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์วิทยากรและศึกษาวิถีปฏิบัติของชาวไทลื้อในจังหวัดพะเยา ประกอบข้อมูลจากการสนทนากลุ่มเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้พิธีกรรมแห่งชีวิตชาวไทลื้อที่จังหวัดพะเยายังคงดำรงอยู่ในปัจจุบัน แล้วนำเสนอผลการศึกษาแบบพรรณนาวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ทำให้พิธีกรรมแห่งชีวิตชาวไทลื้อที่จังหวัดพะเยายังคงดำรงท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบันนั้น ประกอบด้วย ความเชื่อที่มีต่อพลังจากนามธรรมอันสูงส่ง ความภาคภูมิใจในความเป็นชาติพันธุ์ไทลื้อ กระบวนการสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมให้แก่เยาวชนไทลื้อ รวมทั้งบทบาทและหน้าที่อันสำคัญของพิธีกรรมที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทลื้อในจังหวัดพะเยา
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
เจ้าอธิการภาณุวัฒน์ ปญฺญาวชิโร. (2556). ศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อการสืบชะตาของชาวล้านนา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เชียงใหม่).
บุญช่วย ศรีสวัสดิ์. (2503). เชียงใหม่และภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา.
ประจักษ์ สายแสง. (2526). รวมบทความวิชาการ. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก.
ปรีดา จันทร์แจ่มศรี และวาสนา แสงสิทธิ์. (2555). วรรณกรรมพิธีกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทในพื้นที่ลุ่มน้ำกก. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
พิมพา ภักดี. (2550). การวิเคราะห์บทสู่ขวัญที่ใช้ในอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน. (การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. (2524). การแพทย์ไทยสมัยอยุธยา ใน สมบัติไทย (น. 58 – 72). ลพบุรี: วิทยาลัยครูเทพสตรี.
เสฐียรโกเศศ [นามแฝง]. (2521). การศึกษาเรื่องประเพณีไทยและชีวิตชาวไทยสมัยก่อน. พระนคร: คลังวิทยา.
อมรา พงศาพิชญ์. (2533). วัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธุ์: วิเคราะห์สังคมไทยแนวมานุษยวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อมรา พงศาพิชญ์. (2549). ความหลากหลายทางวัฒนธรรม:กระบวนทัศน์และบทบาทในประชาสังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.