การอ่านจับใจความสำคัญที่ใช้ในชีวิตประจำวันโดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะการอ่าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การอ่านจับใจความสำคัญที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะการอ่าน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. สร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญในชีวิตประจำวันให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยชุดแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และ 3. ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ต่อการใช้ชุดแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญที่ใช้ในชีวิตประจำวัน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560
กลุ่ม 1 จำนวน 32 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยชุดนวัตกรรมที่สร้างขึ้น จำนวน 8 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 50 ข้อ
3. แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญที่ใช้ในชีวิตประจำวัน จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าการทดสอบแบบที
(t – test) และโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
ผลการศึกษาพบว่า
- ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เท่ากับ 86.44/84.94
สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (80/80) - ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างภายหลังการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญที่ใช้ในชีวิตประจำวัน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการศึกษาด้วยชุดแบบฝึกทักษะการอ่าน
จับใจความสำคัญที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ในระดับมากที่สุดทุกข้อ ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.78
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
ถวัลย์ มาศจรัส. (2558). ศิลปะการอ่าน. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ธารอักษร.
นิรมล สมตัว. (2557). การพัฒนาการอ่านเรื่องสำนวนไทยในระดับชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
รมินตรา วรงค์ปกรณ์, ศศิธร อินตุ่น และยุพิน อินทะยะ. (2559). การใช้สื่อเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านและเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารบัณฑิตวิจัย, 7(1). 15 – 29.
แววมยุรา เหมือนนิล. (2556). ทักษะการอ่าน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.
ศรีวรรณ ศรีสวัสดิ์. (2559). ทักษะทางภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.
สงกรานต์ ปฐมอติชาต. (2559). การสร้างเอกสารประกอบการอ่านจับใจความสำคัญ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).
สนม ครุฑเมือง. (2556). ทักษะการอ่านและทักษะการคิดในนิทานพื้นบ้านในเขตภาคเหนือตอนล่าง. พิษณุโลก: สองแควการพิมพ์.
สนม ครุฑเมือง. (2557). การอ่านนิทานและตำนานในเขตภาคเหนือ. พิษณุโลก: พิษณุโลกดอทคอมการพิมพ์.
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีฯ. (2510). ฉันชอบอ่านหนังสือ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2557). การอ่าน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุปราณี พัดทอง. (2559). ทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ. กรุงเทพฯ: ประกายพรึก.
สุภัสสร วัชรคุปต์. (2557). การอ่านจับใจความ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
อาทิตยา แสงสุข. (2557). การสร้างชุดฝึกทักษะการอ่านสำนวนไทย สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยโยนกลำปาง. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).