หน้าที่ของปวงชนชาวไทยในรัฐธรรมนูญ: สถานะและความผูกพันทางกฎหมาย

Main Article Content

กษมา เดชรักษา
ชุติพงศ์ สมทรัพย์

บทคัดย่อ

หน้าที่ของปวงชนชาวไทยในรัฐธรรมนูญ มีบัญญัติไว้สืบเนื่องมากว่า 85 ปี ตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2475 จนถึงรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2560 รัฐธรรมนูญของหลายประเทศก็มีการบัญญัติในส่วนนี้ไว้เช่นเดียวกัน แม้ในทางทฤษฎี สถานะทางกฎหมายของบทบัญญัติเกี่ยวกับหน้าที่ของประชาชนหรือพลเมืองหรือของบุคคล จะไม่ผูกพันและมีผลโดยตรงต่อบุคคลในการบังคับให้ต้องปฏิบัติตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด แต่โดยสถานะแห่งอำนาจของรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดและเป็นกฎหมายแม่บท จึงส่งผลให้รัฐตรากฎหมายลำดับรองซึ่งมีผลบังคับโดยตรงต่อบุคคลได้ และโดยอำนาจแห่งกฎหมายลำดับรองนี้เอง ทำให้บุคคลต้องมีหน้าที่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด มิเช่นนั้น บุคคลอาจมีความรับผิดในทางอาญาหรือทางแพ่งได้ ซึ่งหมายความว่าบทบัญญัติเกี่ยวกับหน้าที่ของประชาชนหรือพลเมืองหรือของบุคคลตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ได้แสดงผลทางอ้อมผ่านบทบัญญัติของกฎหมายลำดับรอง ให้บุคคลต้องผูกพันในทางกฎหมายที่มีสภาพบังคับโดยตรง อย่างไรก็ตาม บทบัญญัติบางประการของรัฐธรรมนูญ อาจมีผลโดยตรงต่อบุคคลได้ ซึ่งมิใช่ความรับผิดในทางอาญาหรือทางแพ่ง หากแต่เป็นการเสียไปหรือได้มาซึ่งสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น การเสียสิทธิในการไปเลือกตั้งครั้งถัดไป เพราะเหตุที่มิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในคราวที่ผ่านมา เป็นต้น นอกจากนั้น บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับหน้าที่ของประชาชนหรือพลเมืองหรือของบุคคล ยังสะท้อนถึงการตระหนักรู้ในหน้าที่ของปวงชนที่มีต่อสังคมและประเทศชาติ อันเป็นรากฐานที่สำคัญของจิตวิญญาณประชาชาติอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กิตติ ปิลันธดิลก. (ม.ป.ป.). รัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน. สืบค้นจาก https://www.thailaws.com/law/thaiacts/e_constitution003.pdf

ธีรเดช นรัตถรักษา. (2555). ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชน 2550. กรุงเทพฯ: ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง.

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2556). โครงสร้างทางสังคม บทบาทและนโยบายสาธารณะกับความเป็นพลเมือง. วารสารศิลปะศาสตร์, 5(1), 49-62.

บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ.(2556). กฎหมายรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มานิตย์ จุมปา. (2549). คำอธิบายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2540) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 พร้อมข้อเสนอสำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550). (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

สมยศ เชื้อไทย. (2540). ความรู้กฎหมายทั่วไป. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

โสภารัตน์ จารุสมบัติ. (2547). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน เรื่องสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของปวงชนชาวไทย.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2557). รัฐธรรมนูญสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน. สืบค้นจาก https://library2.parliament.go.th/giventake/content_cons57/con2557-basiclawofgermany.pdf

Jaiswal, V. (2556). List of Fundamental Duties in Indian Constitution. Retrieved from https://www.importantindia.com/1998/list-of-fundamental-duties-in-indian-constitution/

Steed, J. P. (2559). Duty and the Constitution. Retrieved from https://www.huffingtonpost.com/entry/duty-and-the-constitution_b_9571166.html