วัจนภาษาคำสอนในวรรณคดีไทย เรื่อง พระอภัยมณี

Main Article Content

อำภาพร รินปัญโญ
นราวัลย์ พูลพิพัฒน์
กรรณิการ์ พันชนะ

บทคัดย่อ

 การดำเนินงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้วัจนภาษาคำสอนในวรรณคดีไทย เรื่อง พระอภัยมณี และ 2) ศึกษาหลักธรรมคำสอนในวรรณคดีไทย เรื่อง พระอภัยมณี  โดยการศึกษาเอกสารอ่านวิเคราะห์วรรณคดีไทยเรื่องพระอภัยมณี  เล่มที่ 1 - 4 ของสุนทรภู่  ฉบับกรมศิลปากร สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร พิมพ์จำหน่าย พ.ศ. 2544  นำผลการวิเคราะห์มาเรียบเรียงในลักษณะของการพรรณนาวิเคราะห์ ตามสภาพที่ปรากฏโดยอ้างอิงตามเกณฑ์การวิเคราะห์ที่ยึดเป็นแบบ พร้อมกับสอดแทรกความคิดเห็นของผู้วิจัยประกอบการวิเคราะห์เพื่อตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย


ผลการวิจัยพบว่า


  1. การใช้วัจนภาษาคำสอนในเรื่องพระอภัยมณีมี 4 ด้าน คือ ด้านการปฏิบัติตนที่เหมาะสมด้านการสอนหรือให้ความรู้หรือให้การศึกษา ด้านการสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิงและด้านการเสนอหรือชักจูงใจ

  2. หลักธรรมคำสอนในเรื่องพระอภัยมณีเล่มที่ 1, 3, 4 มี 9 ประการ คือ ทานบารมี ได้แก่ การให้
    การเสียสละสิ่งของต่าง ๆ ให้ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน ศีลบารมี ได้แก่ การรักษากายและวาจาให้เรียบร้อย ให้ตั้งอยู่ในความดี  เนกขัมมบารมี ได้แก่ การออกบวชเพื่อศึกษาพระธรรมคำสอน  ปัญญาบารมี  ได้แก่ การใช้ความรอบรู้ในการเตรียมการและวางแผนการทำงานโดยรอบคอบ  วิริยบารมี ได้แก่ ความเพียร ความพยายามและความกล้าหาญ  ขันติบารมี ได้แก่ การอดทนต่อความยากลำบาก อดกลั้นต่อความโกรธ ความไม่พอใจ สัจจบารมี ได้แก่ความมุ่งมั่น  ตั้งใจที่จะลงมือกระทำตามคำพูด มีความจริงใจ พูดจริง ทำจริง  อธิษฐานบารมี  ได้แก่ การตั้งใจหรือการผูกจิตอธิษฐาน  ตั้งจิตอธิษฐาน ขอพร  เมตตาบารมี  ได้แก่ ความรักใคร่  เอ็นดู  ช่วยเหลือเกื้อกูลเมตตาต่อผู้อื่นและสรรพสัตว์ทั้งปวง ส่วนพระอภัยมณีเล่มที่ 2 ใช้วัจนภาษาคำสอนและหลักธรรมคำสอนเพียง 2 ประการ คือ เมตตาบารมี ได้แก่ ความรักใคร่ ความปรารถนาดี มีไมตรี คิดเกื้อกูลให้ผู้อื่นและเพื่อนร่วมโลกทั้งปวงมีความสุขความเจริญ และปัญญาบารมี ได้แก่ ความรอบรู้ ความหยั่งรู้ เหตุผล เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา วิชญาปกรณ์. (2545). มิติหญิงชายในวรรณกรรมสอนสตรี. พิษณุโลก: มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ขวัญใจ บุญคุ้ม. (2559). วัจนลีลาและบทบาทหน้าที่ของเพลงลูกทุ่ง. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่)

ธวัช ปุณโณทก. (2525).วรรณกรรมท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ. (2554). เสียงภาษาไทย การศึกษาทางกลสัทศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์. (2549). วิเคราะห์ปัญหาสำคัญในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บรรพต ศิริชัย. (2533). อวัจนสารในวรรณคดี เรื่อง ขุนช้างขุนแผน. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ประเวศ วะสี. (2538). ธัมมิกสังคม: ปาฐกถาพุทธทาสภิกขุมหาเถระ ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง.

ปัทมา เอื้อรักษ์โอฬาร. (2554). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคำสอนเรื่องกฎแห่งกรรมตามที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนากับคำสอนเรื่องกฎแห่งกรรมของพระธรรมสิงบุราจารย์ (จรัญ จิตธมฺโม) วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระธรรมสิงหบุรา (จรัญ จิตธมฺโม). (2558). นิมิตกฏแห่งกรรม. กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง.

พระมหาสมชัย ศิริวฑฺฒโน (ศรีนอก). (2528). หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏอยู่ในบทเพลงลูกทุ่งไทย. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระมหาอำนวย มหาวีโร. (2544). หลักราชการจากวรรณกรรมคำสอนในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

พิมลณัฏฐ์ รัตนศรทอง. (2559). วัจนลีลาในวรรณกรรมของนิ้วกลม. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่).

พิสมัย ผลพฤกษ์ไพร. (2545). ภูมิปัญญาท้องถิ่น: การเรียนรู้และการพัฒนาที่ยั่งยืน. สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ศิวะลีย์ ภู่เพชร. (ผู้เรียบเรียง). (2541). คติธรรมและคําสอนจากวรรณกรรมร้อยกรอง. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก. (2554). หลักธรรมสำคัญของพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย.

สริยกานต์ ยี่เก็งเอี่ยม และอาทิตย์ ดรุนัยธร. (2553). งานวิจัยเรื่องการศึกษาวรรณกรรมคำสอนที่ได้รับอิทธิพลจากรามเกียรติ์จากงบประมาณปีการศึกษา 2553. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2553). ประวัติความสำคัญของการเผยแพร่พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สิทธา พินิจภูวดล และนิตยา กาญจนะวรรณ. (2515). ความรู้ทั่วไปทางวรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สิทธา พินิจภูวดล และนิตยา กาญจนะวรรณ. (2525). วรรณกรรมสุโขทัย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2546). การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสน่ห์ ทันอินทรอาจ. (2552). การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่องท้าวคำสอน. (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).