การสร้างภาพลักษณ์สตรีในนวนิยายไทยที่ได้รับรางวัลใน พ.ศ.2550-2559

Main Article Content

ปรียาดา กุลรินทร์
นราวัลย์ พูลพิพัฒน์
ศรีวิไล พลมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างภาพลักษณ์สตรีในนวนิยายไทยที่ได้รับรางวัลใน พ.ศ.2550-2559 ผู้วิจัยได้นำแนวคิดเกี่ยวกับภาพลักษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอผลการศึกษาแบบพรรณาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าการสร้างภาพลักษณ์สตรีในนวนิยายที่ได้รับรางวัลใน พ.ศ. 2550-2559 จำนวน 9 เรื่องประกอบไปด้วยลักษณะ 4 ประการ ได้แก่ 1) การสร้างภาพลักษณ์ด้านลักษณะภายนอก ส่วนใหญ่พบว่าตัวละครสตรีมีรูปร่างหน้าตาของผู้หญิงในอุดมคติที่คนในปัจจุบันชื่นชอบ กล่าวคือ รูปร่างผอมบาง หน้าตาสวยงาม ลักษณะนิสัย อารมณ์ และความคิด มีทั้งรัก โลภ โกรธ หลงเหมือนคนทั่วไปที่พบเห็นในสังคมไทย และเป็นสตรีที่ได้รับการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป 2) การสร้างภาพลักษณ์ด้านภูมิหลังของตัวละคร พบว่าครอบครัวมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาบุคลิกภาพทั้งภายในและภายนอกของตัวละคร 3) การสร้างภาพลักษณ์ด้านการสร้างแรงจูงใจและทัศนคติ พบแรงจูงใจและทัศนคติ 3 แบบ ได้แก่ แรงจูงใจและทัศนคติในแง่บวก แรงจูงใจและทัศนคติในแง่ลบ และการไม่แสดงออกทางแรงจูงใจหรือทัศนคติ โดยสอดคล้องกับการสร้างภูมิหลังของตัวละครเป็นสำคัญ 4) การสร้างภาพลักษณ์ด้านการสร้างภาษาพูดและท่าทาง ผู้เขียนได้สร้างให้มีความสอดคล้องกับลักษณะภายนอก ภูมิหลังของตัวละคร ภาพลักษณ์ของตัวละครจะถูกสร้างให้มีความสอดคล้อง เป็นเหตุเป็นผลแก่กันเพื่อให้เกิดความสมจริงของตัวละคร ส่งผลให้นวนิยายเป็นที่นิยมกระทั่งได้รับรางวัลชนะเลิศใน พ.ศ. 2550-2559


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

จริญพร หาญพยัคฆ์. (2554). ภาพลักษณ์และความพึงพอใจในการใช้บริการร้านค้า บริษัท ทรู คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การศึกษาค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย).

ปอรินทร์ เพ็ญศิริ. (2551). การวิเคราะห์รูปแบบการนำเสนอภาพลักษณ์สตรีผ่านภาพโฆษณาในนิตยสารสตรี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยถาน.

รสริน ดิษฐบรรจง. (2552). การเขียน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

สุภางค์ จันทวานิช. (2557). ทฤษฎีสังคมวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แสงเดือน วนิชดำรงศักดิ์. (2555). การรับรู้ภาพลักษณ์และคุณภาพบริการ : กรณีศึกษา ธนาคารเกียรตินาคิต สาขากรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, วิชาเอกการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

อโนชา ศีลาแก้ว. (2550). ภาพลักษณ์ของผู้หญิงเหนือที่สะท้อนให้เห็นในนวนิยายร่วมสมัย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

อุมารินทร์ ตุลารักษ์. (2550). ภาพแทนผู้หญิงในวรรณกรรมในแบบเรียนลาว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง “คนงาม”. มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 27(3) (ก.ย. – ธ.ค. 2553).

อุษา พัดเกตุ. (2551) สตรีนิยมที่ถูกรื้อร้าง:การสร้างการผนึกกำลังของผู้หญิงในกรงอำนาจผู้ชายในนวนิยายเรื่อง “เมียจ้าว” ของเอมี ทาน. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 5(2) (พ.ค. – ส.ค. 2551).

เอวิตรา ศิระสาตร์. (2553). คู่กรรมกับความคิดของผู้เสพที่มีต่อภาพลักษณ์ของชาวญี่ปุ่นและความเป็นญี่ปุ่น. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).