ความสำคัญของน้ำในประเพณีหลวง : กรณีศึกษาจากพระราชพิธีสิบสองเดือน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำคัญของน้ำในประเพณีหลวงตามมุมมองทาง คติชนวิทยา ขอบเขตของการศึกษาใช้ข้อมูลจากพระราชพิธีต่าง ๆ ที่ปรากฏในหนังสือเรื่องพระราชพิธี สิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการวิเคราะห์ข้อมูลอาศัยกรอบแนวคิดเรื่องพิธีกรรมคือการเชื่อมโยงอันเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาคติชนวิทยาตามแนวทฤษฎีคติชนวิทยา 3 มิติของกิ่งแก้ว อัตถากร
ผลการศึกษาพบว่า พระราชพิธีต่าง ๆ ที่ปรากฏในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน มีพระราชพิธีที่มีน้ำปรากฏอยู่ทั้งสิ้น 31 พระราชพิธี จากทั้งหมด 57 พระราชพิธี โดยสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ พระราชพิธีที่เกี่ยวข้องกับน้ำโดยตรง และพระราชพิธีที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบในพระราชพิธี ทั้งนี้พบว่าน้ำมีความสำคัญต่อการประกอบพระราชพิธีเป็นอย่างมากและมีความหมายในเชิงอุปลักษณ์ ในฐานะ “สื่อ” หรือ “พาหะ” ที่ช่วยเชื่อมโยงปัจเจกบุคคลกับสิ่งต่าง ๆ ได้แก่ 1) น้ำในฐานะสื่อแห่งความบริสุทธิ์ ช่วยชำระล้างมลทิน สิ่งสกปรก และช่วยให้เกิดความเป็นสิริมงคล 2) น้ำในฐานะพาหะที่เชื่อมโยงบุคคลกับเทพเทวาและความศักดิ์สิทธิ์ และ 3) น้ำในฐานะสื่อในกระบวนการสื่อสารข้ามมิติ
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2555). พระราชพิธีสิบสองเดือน. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ 1991 จำกัด.
จุลทัศน์ พยาฆรานนท์. (2550). น้ำกับการพระราชพิธีในราชสำนักสยาม. ใน ประคอง นิมมานเหมินท์ (บรรณาธิการ). น้ำคือชีวิต, 22-31. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2557). ผ้าขาวม้า, ผ้าซิ่น, กางเกงใน และ ฯลฯ ว่าด้วยประเพณี, ความเปลี่ยนแปลงและเรื่องสรรพสาระ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มติชน.
ประคอง นิมมานเหมินท์. (2550). น้ำกับประเพณีพิธีกรรมพื้นบ้านไทย, ใน ประคอง นิมมานเหมินท์ (บรรณาธิการ), น้ำคือชีวิต, 32-47. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
มาซารุ เอโมโตะ. (2553). สาส์นจากวารี. (พิมพ์ครั้งที่ 3). (ศศิธร-ศศิวิมล รัชนี, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: บริษัทแปลน
พริ้นท์ติ้ง จำกัด.
ศรีศักร วัลลิโภดม. (1 มีนาคม, 2554). การศึกษาสังคมไทยผ่าน “ภูมิวัฒนธรรม”. สืบค้นจาก https://www.lek-prapai.org/home/view.php?id=84
อรอุษา สุวรรณประเทศ. (2555). กว้างกว่าโลก เหนือจักรวาล ขอบข่ายอันไพศาลของวิชาคติชนวิทยา. วิทยาจารย์, 111(3), 25-28.
UNESCO. (2005). Water, Religions and Beliefs. Unesco Water e-Newsletter, 122. Retrieved from https://www.unesco.org/water/news/newsletter/122.shtml#know