การวิเคราะห์วาทกรรมในชั้นเรียนภาษาจีน: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

Main Article Content

Hu Dandan
สมลักษณ์ เลี้ยงประยูร
ศรชัย มุ่งไธสง

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์วาทกรรมเป็นการวิจัยกระบวนการในชั้นเรียนลักษณะหนึ่งเพื่อให้เข้าใจการใช้ภาษาในห้องเรียน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของวาทกรรมการใช้ภาษาในชั้นเรียนภาษาจีนเป็นภาษาที่สองในคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย กระบวนการวิจัยประกอบด้วยการอธิบายและวิเคราะห์ข้อมูลวาทกรรมในชั้นเรียน โดยมีองค์ประกอบ คือ รูปแบบปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน ปริมาณการสนทนาของครูผู้สอนและนักศึกษา ประเภทของคำถามที่ครูใช้ และการให้ข้อมูลย้อนกลับของครู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนชาวจีนหนึ่งท่าน และนักศึกษาไทยชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาเอกภาษาจีนจำนวน 35 คนที่เรียนรายวิชาการฟัง-พูดภาษาจีน โดยผู้วิจัยได้เลือกบทเรียน 3 บทเรียนเพื่อเข้าสังเกตและบันทึกการเรียนการสอนในการศึกษาวาทกรรมในชั้นเรียน
ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบของวาทกรรมในชั้นเรียนของกลุ่มตัวอย่าง ใช้รูปแบบ IRF และปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับนักศึกษาเป็นปฏิสัมพันธ์หลักของวาทกรรมในชั้นเรียน นอกจากนี้ พบว่า การสนทนาของครูมีปริมาณมากกว่าการสนทนาของผู้เรียน และผู้สอนใช้คำถามประเภท Displayed Question และให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงบวกมากในชั้นเรียนภาษาจีนของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ทั้งนี้ ผลวิจัยนี้จะมีประโยชน์ต่อการสอนของครูเพื่อชี้แนะและส่งเสริมให้นักศึกษาได้สนทนาใน
ชั้นเรียนมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Arthur, D. (2008). Discourse. Retrieved from https://www.answer.com

Bailey, K. M. (2010). Language teacher supervision: A case-based approach. New York: Cambridge University Press,

Nunan, D. (1991). Language teaching methodology: A textbook for teachers. New Jersey: Prentice Hall.

Sinclair, J., & Coulthard, M. (1975). Towards an analysis of discourse. Oxford: Oxford University Press.

Lier, V. (1988). The classroom and the language learning. London: Longman.