รูปแบบการพัฒนาระบบกลไกการประกันคุณภาพภายในของสถานรับเลี้ยงเด็ก อำเภอเมืองเชียงใหม่

Main Article Content

จุรีพร เทศเนาวนิตย์
พิทยาภรณ์ มานะจุติ
ศิริมาศ โกศัลย์พิพัฒน์

บทคัดย่อ

            การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการดำเนินงานและรูปแบบการพัฒนาระบบกลไกการประกันคุณภาพภายในของสถานรับเลี้ยงเด็กในอำเภอเมืองเชียงใหม่ ประชากรประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู และพี่เลี้ยงเด็ก จำนวน 243 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถาม ประเด็นการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ใน
การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานรับเลี้ยงเด็ก มีสภาพที่เป็นจริง
ระดับมาก ทั้งในภาพรวมและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ด้านการบริหารจัดการสถานรับเลี้ยงเด็ก และด้านคุณภาพเด็ก


            รูปแบบการพัฒนาระบบกลไกการประกันคุณภาพภายในสถานรับเลี้ยงเด็กอำเภอเมืองเชียงใหม่ (CCC Model) ที่เป็นข้อค้นพบ มีลักษณะเป็นขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกันอย่างต่อเนื่องและส่งผลป้อนกลับในลักษณะวงจร PDCA ในขั้นวางแผน (Plan) เป็นการวางแผนระบบการบริหารจัดการสถานรับเลี้ยงเด็ก ได้แก่ การใช้หลักการมีส่วนร่วม วงจร PDCA การพัฒนาบุคลากร การวางมาตรการความปลอดภัย การให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ  และการสร้างเครือข่ายผู้บริหาร ในขั้นปฏิบัติ (Do) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย
(1) การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกิจกรรม 6 หลัก ได้แก่ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเสรี กิจกรรมกลางแจ้ง และเกมการศึกษา (2) การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย สติปัญญา สังคม อารมณ์-จิตใจ (3) การใช้หลักสูตรปฐมวัย พ.ศ. 2546 (4) การจัดกระบวนการเรียนรู้เด็ก 4 ขั้นตอน ได้แก่ ประเมินพัฒนาการเด็ก ออกแบบเครื่องมือการประเมิน
จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการให้ตรงตามช่วงอายุ และประเมิน ปรับปรุง ติดตาม ส่งเสริมกลุ่มที่พัฒนาไม่ได้ตามกำหนด (5) การใช้ทฤษฎีการเรียนรู้สอดคล้องธรรมชาติและการทำงานของสมอง (BBL) (6) การใช้ระบบสารสนเทศ (IT) และ (7) การส่งเสริมค่านิยมหลัก 12 ประการ ด้านการประกันคุณภาพภายใน ประกอบด้วย การพัฒนาระบบ
การประกันคุณภาพภายใน การดำเนินงานอย่างมีคุณภาพและเป้าหมาย การยกระดับมาตรฐานคุณภาพการศึกษา และรับการประเมินจากสมศ. ในขั้นประเมิน (Check) ประกอบด้วย การประเมินพัฒนาการเด็ก 4 ด้าน การใช้เครื่องมือการประเมิน และการประเมินเด็กตามสภาพจริงด้วยวิธีที่หลากหลาย ในขั้นพัฒนา (Act) ประกอบด้วย
การประชุมให้ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง การวิเคราะห์และปรับปรุงแผนพัฒนาคุณภาพ และการเริ่มต้นวงจร PDCA วงรอบใหม่ต่อไป


            ผลการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายต่อรูปแบบการพัฒนาระบบกลไกการประกันคุณภาพภายในของสถานรับเลี้ยงเด็ก อำเภอเมืองเชียงใหม่ (CCC Model)  มีความคิดเห็นทั้งโดยภาพรวมและโดยรายด้านว่ามีความเหมาะสมระดับมากที่สุด ทั้งในขั้นวางแผนการบริหารจัดการ ขั้นการประเมินคุณภาพเด็ก ขั้นการพัฒนาคุณภาพ และขั้นการจัดกระบวนการเรียนรู้ ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กิ่งทอง ใจแสน. (2553). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่ต้องการพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

พรพิมล จันทร์ศรี. (2549). รูปแบบการพัฒนาครูตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 1. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ภานุกานต์ ช่อผกา. (2548). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่มาตรฐานการประกันคุณภาพด้านผู้บริหารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยนาท. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สมชาติ แก้วขาว. (2545). การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครปฐม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

สมประสงค์ ยมนา. (2553). รูปแบบการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานีเขต 3 ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สมโภชน์ หลักฐาน. (2548). การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโดยกระบวนการมี
ส่วนร่วม. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). การประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงใหม่. (2559). เอกสารข้อมูลศูนย์เด็กเล็กอำเภอเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่: สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงใหม่.

สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ. (2555). มาตรฐาน ศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ คู่มือการดำเนินงานตามมาตรฐาน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุกัญญา แก้วหล้า, พิทยาภรณ์ มานะจุติ, ชไมมน ศรีสุรักษ์, ศิริมาศ โกศัลย์พิพัฒน์ และดวงใจ เนตรตระสูตร. (2560). แนวทางการพัฒนางานวิชาการของโรงเรียนอนุบาลสานสายใยรัก เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย, 8(2), 1-14.

สุเทพ ชิตวงษ์. (2551). รูปแบบการพัฒนาบุคลากรที่กำกับติดตามการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.