แนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงดาว ตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อหาแนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 64 คน ประกอบด้วย นักวิชาการศึกษาหรือผู้ช่วยนักวิชาการศึกษา จำนวน 2 คน หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือรักษาการหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 4 คน ครูผู้ดูแลเด็กหรือผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 8 คน และคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาใช้ในการจัดกิจกรรมการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ผลการวิจัยพบว่า
- ด้านการบริหารจัดการศูนย์เด็กเล็ก สภาพปัจจุบันมีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพปัญหาอยู่ในระดับน้อยที่สุด แนวทางการพัฒนาคือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควรปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานให้เป็นระบบและชัดเจน ตลอดจนควรปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียนให้มั่นคงแข็งแรงและปลอดภัย จัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกให้เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
- ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก สภาพปัจจุบันมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพปัญหาอยู่ในระดับน้อยที่สุด แนวทางการพัฒนาคือควรให้เด็กได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมถึงสุขภาพฟัน สายตา หู การวัดอีคิว อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- ด้านคุณภาพเด็ก สภาพปัจจุบันมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพปัญหาอยู่ในระดับไม่มีปัญหา แนวทางการพัฒนาคือควรส่งเสริมให้เด็กทุกคนได้รับการฝึกสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพ และการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นกับตนเองและผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2548). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: อาสารักษาดินแดน.
จรรยา ชินสี. (2552). แนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในเขตอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณัชนันท์ ชีวานนท์. (2559). อุบัติเหตุในเด็ก: สถานการณ์และแนวทางการป้องกัน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(3), 3-4
ธนพล ด่านวิวัฒน์วงศ์, พระครูวิทิต ศาสนทร และชาลี ภักดี. (2561). การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้โรงเรียนบ้านริมใต้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย, 9(1), 115 – 130.
นงลักษณ์ สินสืบผล. (2549). พฤติกรรมการสอนปฐมวัยศึกษา หน่วยที่ 1. (พิมพ์ครั้งที่ 15). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นิคม ทาแดง. (2524). พฤติกรรมการสอนปฐมวัยศึกษา หน่วยที่ 10 และหน่วยที่ 14. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมจิต เกียรติวัฒนเจริญ. (ม.ป.ป.). คู่มือการตรวจสุขภาพเด็กปฐมวัยก่อนเข้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ. (2555). มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ: คู่มือการดำเนินงานตามมาตรฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.