ท่วงทำนองทางภาษาและกลวิธีการถ่ายทอดธรรมะในงานเขียนของพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต

Main Article Content

สัญรญา นวลศิริ
สนิท สัตโยภาส
นราวัลย์ พูลพิพัฒน์

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่องท่วงทำนองทางภาษาและกลวิธีการถ่ายทอดธรรมะในงานเขียนของพระมหาสมปอง
ตาลปุตฺโต มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาท่วงทำนองทางภาษาและศึกษากลวิธีการถ่ายทอดธรรมะ ในงานเขียนของพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต โดยศึกษาจากแหล่งข้อมูล จำนวน 10 เรื่องและเสนอผลการศึกษาแบบพรรณนาวิเคราะห์


จากการศึกษาพบว่าผู้เขียนได้ใช้ท่วงทำนองทางภาษาที่โดดเด่นในงานเขียน 3 ประเด็นคือ การเลือกใช้คำ การเลือกใช้ประโยค และ การเลือกใช้สำนวน สุภาษิต คำคม ด้านการเลือกใช้คำพบการใช้มากที่สุด ได้แก่ การใช้คำซ้อน  ด้านการเลือกใช้ประโยคที่พบการใช้มากที่สุด ได้แก่ การใช้ประโยคข้อแม้แสดงเงื่อนไข ในด้านการใช้สำนวน สุภาษิต คำคม พบว่า มี 3 ลักษณะ คือ การใช้สำนวน สุภาษิต คำคมที่มีอยู่เดิม การดัดแปลงสำนวน สุภาษิต คำคมจากต้นฉบับ และการคิดค้นสำนวน สุภาษิต คำคมขึ้นใหม่


สำหรับในด้านกลวิธีการถ่ายทอดธรรมะในงานเขียนของพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต พบว่าผู้เขียนได้ถ่ายทอดธรรมะสู่ผู้อ่านด้วยกลวิธีการเขียนที่หลากหลายและแยบยลมีทั้งหมด 4 ส่วน ได้แก่ กลวิธีการตั้งชื่อเรื่อง กลวิธีการเปิดเรื่อง กลวิธีการดำเนินเรื่อง และกลวิธีการปิดเรื่อง 


จากการศึกษาพบว่าด้านกลวิธีการตั้งชื่อเรื่องที่ใช้มากที่สุด ได้แก่ การตั้งชื่อเรื่องตามแก่นเรื่อง ด้านกลวิธีการเปิดเรื่องที่ใช้มากที่สุด ได้แก่ การเปิดเรื่องด้วยการบรรยายตรงประเด็น ส่วนในด้านกลวิธีการดำเนินเรื่องที่ใช้มากที่สุด คือ การดำเนินเรื่องโดยการยกตัวอย่าง  ประการสุดท้ายกลวิธีการปิดเรื่องที่ใช้มากที่สุด คือ การปิดเรื่องด้วยการสรุปใจความสำคัญของเรื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. (2558). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จินดา วรรณรัตน์, จริญญา ธรรมโชโต และสมิทธ์ชาต์ พุมมา. (2561). ลีลาภาษาของพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต ในคอลัมน์คนดังนั่งเขียน. Walailak Proceddia, 2018(1). สืบค้นจาก https://wjst.wu.ac.th/index.php/
wuresearch/article/view/5302

ชลธิชา ชูชาติ. (2552). กระบวนการสร้างสารของพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต ในรายการธรรมะเดลิเวอลี่. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ธนู ทดแทนคุณ และกานต์รวี แพทย์พิทักษ์. (2557). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. (ฉบับปรับปรุง). (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

บรรจบ พันธุเมธา. (2532). ลักษณะและการใช้ภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปันนัดดา นพพนาวัน. (2533). การศึกษากระบวนการสื่อสารเพื่อการเผยแพร่ธรรมะของสถาบันสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประทีป วาทิกทินกร. (2535). ลักษณะและการใช้ภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต. (2553). ธรรมะ Delivery ฉบับ Unlimited Edition พระมหาสมปอง. กรุงเทพฯ: บิสซี่เดย์.

พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต. (2555ก). คำคมธรรมฮา พระมหาสมปอง. นนทบุรี: ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์.

พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต. (2555ข). Browser ความสุข Delete ทุกข์ ออกจากใจ. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต. (2555ค). สุขเวอร์. กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น.

พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต. (2556ก). ธรรมะชูใจ. กรุงเทพฯ: ฟินบุ๊ค.

พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต. (2556ข). ธรรมะเฮฮา ฉบับ สุขอั๊ยยะ ฮักจุงเบย. นนทบุรี: ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์.

พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต. (2556ค). พระมหาสมปอง ฉบับ ขอให้โชคดีนะโยม. นนทบุรี: ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์.

พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต. (2556ง). ปลดทุกข์...ปล่อยวางกันบ้างเถอะโยม. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต. (2557ก). ชีวิตไม่สิ้นก็ต้องดิ้นนะโยม. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต. (2557ข). โยมฮู้บ่อ อยากมีความสุขจังฮู้ ยะจะได. นนทบุรี: ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์.

ภาคภูมิ หรรนภา. (2554). การเขียนเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: อินทนิล.

ศิวกานท์ ปทุมสูติ. (2548). การเขียนสร้างสรรค์ไม่ยากอะไรเลย. กรุงเทพฯ: นวสาส์นการพิมพ์.

สวนิต ยมาภัย. (2526). การสื่อสารของมนุษย์. กรุงเทพฯ: 68 การพิมพ์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2555). สภาวะทางสังคม วัฒนธรรม แลสุขภาพจิต. สารสถิติ, 23(4) (เดือนตุลาคม – ธันวาคม), 6 – 8.

สิริวรรณ นันทจันทูล. (2543). การเขียนเพื่อการสื่อสาร 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต. (2533). การเขียนสำหรับสื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ดวงกมล.

อาภินานันท์ ศรีมา. (2556). วิเคราะห์เนื้อหาและวิธีนำเสนอธรรมะผ่านสื่อวีดีทัศน์ของ พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสื่อสารศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).