แนวคิดและกระบวนการสร้างพระไตรปิฎกภาษาล้านนา

Main Article Content

ดิเรก อินจันทร์
มนัส สุวรรณ
อนาโตล โรเจอร์ เป็ลติเยร์
วิโรจน์ อินทนนท์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและกระบวนการสร้างคัมภีร์พระไตรปิฎก ภาษาล้านนา อักษรล้านนา โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเลือกศึกษากรณีการจัดสร้างคัมภีร์พระไตรปิฎกของพระพรหมมงคล (ทอง สิริมงฺคโล) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้สร้างคัมภีร์พระไตรปิฎก ภาษาล้านนา อักษรธรรมล้านนา ระหว่างปี พ.ศ. 2514-2533


พระพรหมมงคลได้ดำเนินงานจัดสร้างพระไตรปิฎกภาษาล้านนา โดยอาศัยแนวคิดและความตั้งใจ
ของครูบาอาจารย์เป็นจุดเริ่มต้น มุ่งหวังให้ชาวล้านนาตระหนักถึงคุณค่าและความเจริญรุ่งเรืองด้านพุทธศาสนา คือการทำสังคายนาและจารคัมภีร์พระไตรปิฎกด้วยอักษรธรรมล้านนามาแล้วในอดีต มีกระบวนการดำเนินงาน ดังนี้
1) การตั้งคณะทำงาน 2) การหาทุนและการขอความร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง 3) การสำรวจ รวบรวมและคัดเลือกคัมภีร์ใบลานมาจัดทำเป็นต้นฉบับ 4) การตรวจสอบข้อมูล 5) การจัดพิมพ์เป็นหนังสือ พิมพ์ลงใบลาน และจารลง
ใบลาน และ 6) การเฉลิมฉลองและส่งมอบคัมภีร์พระไตรปิฎกให้กับวัด หน่วยงาน และสถานศึกษาต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ


การจัดสร้างพระไตรปิฎกด้วยอักษรธรรมล้านนาของพระพรหมมงคล เกิดขึ้นในยุคที่อักษรธรรมล้านนาได้กลายเป็นอักษรถิ่นที่เกือบจะหมดบทบาทและหน้าที่การใช้งานในชีวิตประจำวัน และวัฒนธรรมการจารใบลานได้เลือนหายไปจากสังคมล้านนาแล้ว ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากคัมภีร์พระไตรปิฎกที่สร้างขึ้นจึงไม่ได้เน้นที่การใช้งานหรือการศึกษา แต่มุ่งที่จะสร้างให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของชาวล้านนาให้เกิดความภาคภูมิใจ
เป็นสำคัญ โดยแนวคิดและกระบวนการดังกล่าวนี้ยังเป็นแบบอย่างหรือแนวทางการจัดสร้างคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกา ภาษาบาลี อักษรธรรมล้านนา และการพิมพ์พระไตรปิฎก ภาษาบาลี และโวหารไทขึนด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2540). อัตลักษณ์ วัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลง. เชียงใหม่: ศูนย์สตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทิศนา แขมมณี. (2545). กระบวนการเรียนรู้: ความหมาย แนวทางการพัฒนาและปัญหาข้องใจ. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).

พระไตรปิฏกะ ภาษาล้านนาไทย. (2526). เชียงใหม่: คณะกรรรมการพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับล้านนาไทย และคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่.

ยศ สันตสมบัติ. (2536). มนุษย์กับวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ยุพาพร รูปงาม. (2545). การมีส่วนร่วมของข้าราชการสำนักงบประมาณในการปฏิรูประบบราชการ. (ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

ลิขิต ลิขิตตานนท์. (2536). วรรกรรมพุทธศาสนาในล้านนา. เชียงใหม่: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร. (ม.ป.ป.). ประวัติและผลงานของพระสุพรหมยานเถระ (ทอง สิริมงฺคโล). เอกสารอัดสำเนา.

สร้อยตระกูล ติวยานนท์ อรรถมานะ. (2550). พฤติกรรมองค์การ: ทฤษฎีและการประยุกต์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2557). พระไตรปิฎกฉบับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: บริษัทคราฟแมนเพรส จำกัด.

สุวิไล เปรมศรีรัตน์. (2550). สถานการณ์ทางภาษาในสังคมไทยกับความหลากหลายทางชาติพันธุ์. เอกสารประกอบการเสวนา “การพัฒนาระบบการศึกษาเพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมและชาติพันธุ์”. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อนิวัช แก้วจำนงค์. (2552). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ.