ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้ออลูมิเนียมสำเร็จรูป Lynn ผ่านช่องทางโมเดิร์นเทรดในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

อรรถพล ฟูไฟ
กมลทิพย์ ใจคำ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้ออลูมิเนียมสำเร็จรูป Lynn ในจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้ออลูมิเนียมสำเร็จรูป Lynn ในจังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาของผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้ออลูมิเนียมสำเร็จรูป Lynn ในจังหวัดเชียงใหม่ ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ ลูกค้าในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 1,681,060 คน วิธีการดำเนินการวิจัยโดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นลูกค้าที่เข้ามาเลือกซื้อสินค้าช่องทางโมเดลเทรดผ่านโฮมโปร และโกลบอลเฮ้าส์ เขตจังหวัดเชียงใหม่ ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เก็บข้อมูลโดยวิธีการ
สุ่มตัวอย่างแบบสะดวกและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Pearson Correlation และ F-test ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 63.25 และเพศหญิง
คิดเป็นร้อยละ 36.75 โดยส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 36-45 ปี มีการศึกษาในระดับปริญญาตรีมากที่สุด รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 40,000 บาท มากที่สุด ปัจจัยด้านประชากร ได้แก่ อายุ, ระดับการศึกษา, อาชีพและรายได้
ส่วนบุคคลเฉลี่ยต่อเดือน มีความความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อประตู/หน้าต่างอลูมิเนียมสำเร็จรูป  ส่วนเพศไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อประตู/หน้าต่างอลูมิเนียมสำเร็จรูป Lynn ด้านปัจจัยส่วนประสม
ทางการตลาด ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านลักษณะทางกายภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อประตู/หน้าต่างอลูมิเนียมสำเร็จรูป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลชนก ก้าวสัมพันธ์ และปะราสี เอนก. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ประเภทบำรุงร่างกายของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย, 8(2), 183 – 198.

กุลธิดา ก้าวสัมพันธ์ และปะราสี เอนก. (2561). การส่งเสริมการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคกาแฟสดแฟรนไชส์ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย, 9(1), 201 – 216.

แครียา ภู่พัฒน์. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์โตโยต้า นิว วีออส ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการตลาดคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒน์).

จารุวรรณ เจริญสุข. (2554). พฤติกรรมผู้บริโภคในการเลือกซื้อวัสดุก่อสร้างประเภทไม้. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2554). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ชาญชัย ลีวณิชย์. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกร้านค้าวัสดุก่อสร้างของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงราย. (วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

รสริน บุญเฉลียว. (2546). ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการเลือกผลิตภัณฑ์ประตูพีวีซีเพื่อจำหน่ายของร้านค้าปลีกวัสดุก่อสร้างในอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ระบบธุรกิจ sme อุตสาหกรรมก่อสร้าง. (2559). สืบค้นจาก https://www.mtec.or.th/th/research/sme/Glassweb/industry.html

ระบบสถิติทางการทะเบียน. (2557). สืบค้นจาก www.stat.bora.dopa.go.th/stat/

สุธรรม รัตนโชติ. (2551). การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ท๊อป.

ยงยุทธ ดิถีวัฒนา. (2551). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อภาชนะหุงต้มอลูมิเนียมของผู้บริโภคในเขตจังหวัดสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีสมุทรปราการ).

Yamane, T. (1976). Statistics: An introductory analysis. (2nd ed.). New York: Harper and Row.