แนวปฏิบัติที่ดีด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการของสถานประกอบกิจการยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสังเคราะห์แนวปฏิบัติที่ดีด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการ และปัจจัยแห่งความสำเร็จ ของสถานประกอบกิจการยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ที่ได้รับรางวัลเกียรติยศสถานประกอบกิจการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน 10 ปีติดต่อกัน (พ.ศ. 2549 – พ.ศ. 2558) ตลอดถึงบทบาทของภาครัฐต่อการส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันให้สถานประกอบกิจการสามารถพัฒนาระบบแรงงานสัมพันธ์ และมีแนวปฏิบัติที่ดีด้านแรงงานสัมพันธ์จนได้รับรางวัล โดยนำมาถอดบทเรียน เพื่อกำหนดเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านแรงงานสัมพันธ์ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้สำหรับสถานประกอบกิจการอื่น ๆ ได้ การศึกษาครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกนายจ้างหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากนายจ้างจากสถานประกอบกิจการที่ได้รับรางวัลจำนวน 8 คน ตัวแทนภาครัฐที่เกี่ยวข้อง 4 แห่ง จำนวน 4 คน สนทนากลุ่ม ตัวแทนองค์การลูกจ้าง จำนวน 9 กลุ่ม รวม 45 คน
ผลการศึกษาพบว่า การสร้างแนวปฏิบัติที่ดีด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการของสถานประกอบกิจการยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย ได้มีการดำเนินการตามรูปแบบการบริหารแบบทวิภาคี โดยนำมาตรการทางด้านอุตสาหกรรมสัมพันธ์มาปรับใช้ ส่วนปัจจัยแห่งความสำเร็จ ได้แก่ ปัจจัยด้านนโยบายแรงงานสัมพันธ์และการบริหารงานบุคคล ปัจจัยด้านพนักงานลูกจ้าง/ตัวแทนฝ่ายพนักงานลูกจ้าง ปัจจัยด้านการสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ในส่วนของภาครัฐต้องมีบทบาทในการผลักดัน สนับสนุนส่งเสริมให้เกิดแรงงานสัมพันธ์ในสถานประกอบกิจการโดยผ่านการให้ความรู้ ความเข้าใจให้กับทั้งสองฝ่าย รวมถึง กำกับดูแล ตรวจสอบไม่ให้มีการกระทำที่เป็นการละเมิดกับบทบัญญัติของกฎหมายด้วย
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2561). ระบบการปรึกษาหารือร่วม. สืบค้นจาก http://relation.labour.go.th/2018/attachments/category/81/0406.pdf.
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2553). มาตรฐานแรงงานไทย ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจไทย มทร.8001-2553. กรุงเทพฯ: กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน.
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2558). เอกสารการประกวดสถานประกอบกิจการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน .กรุงเทพฯ: กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน.
เกื้อจิตร ธีระกาญจน์. (2553). แรงงานสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
จำเนียร จวงตระกูล. (2531). การบริหารแรงงานในประเทศไทย กรม ทบวง หรือ กระทรวง. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์.
เพ็ญศรี พุทธดิลก. (2546). ไตรภาคีกับการมีส่วนร่วมในการบริหารแรงงาน. กรุงเทพฯ: กระทรวงแรงงาน.
สหาย โถทองคำ. (2542). นโยบายกับสภาพปัญหาแรงงานสัมพันธ์ทวิภาคีและไตรภาคี. กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน.
สังศิต พิริยะรังสรรค์. (2540). การพัฒนาระบบแรงงานสัมพันธ์ในสถานประกอบการ.กรุงเทพฯ: บริษัท สุขุมและบุตร จำกัด.
สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2561). พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แก้ไขปรับปรุงปี พ.ศ. 2560. สืบค้นจาก https://www.labour.go.th/th/doc/law/labour_protection_2541_new
อภิชัย ศรีเมือง. (2555). บริหารแรงงานสัมพันธ์อย่างไรให้สัมฤทธิผล. กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์ดีการพิมพ์ จำกัด.
Akintayo, D. I. (2010). Job security, labour-management relations and perceived workers productivity in industrial organizations: Impact of technological innovation. International Business & Economics Research Journal, 9(9), 29-37
Farnham, D. and Pimlott, J. (1986). Understanding industrial relations. Great Britain: Holt, Rinehart and Winston Ltd.