การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยด้านการใช้คำของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา มศว 111 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 เป็นนิสิตที่มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา จำนวนทั้งสิ้น 1000 คน ผู้วิจัยรวบรวมงานเขียนที่มอบหมายให้ในชั้นเรียนไปวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำผลการวิจัยไปใช้พัฒนาการเขียนของนิสิตต่อไป
ผลการวิจัยพบข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนิสิต โดยพบว่าจำนวนนิสิตที่มีปัญหาด้านการใช้คำเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยมีดังนี้คือ การสะกดคำผิด การใช้ภาษาพูดและภาษาสแลง การใช้คำฟุ่มเฟือย
การใช้คำภาษาต่างประเทศ การใช้คำไม่ตรงความหมาย การใช้คำย่อและอักษรย่อผิด การใช้สรรพนามไม่เสมอกัน และการใช้คำลักษณนามผิด
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
ดุษฎีพร ชำนิโรคศานต์. (2559). เอกสารประกอบการประชุมหลักสูตรการออกข้อสอบและการตรวจข้อสอบอัตนัยสำหรับครูผู้สอนวิชาภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทยสิรินธร.
ทวีศักดิ์ ปิ่นทอง. (2555). การพัฒนาทักษะการเขียน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ธนู ทดแทนคุณ และปวีณา จันทร์สุวรรณ. (2558). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทย: กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
ประสิทธิ์ กาพย์กลอน, ประพนธ์ เรืองณรงค์, เสาวลักษณ์ อนันตศานต์ และวิโรจน์ ผดุงสุนทรารักษ์. (2544).
การเตรียมเพื่อการพูดและการเขียน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปิยนิตย์ เปี่ยมงาม, ผกาวดี ปิกมา และประสิทธิ์ ชัยเสนา. (2544). การศึกษาลักษณะข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 ในสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตพิษณุโลก ปีการศึกษา 2544. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.
ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2540). “ปัญหาการใช้ภาษาไทย”. เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการเรื่องภาษาไทยในปัจจุบัน: ปัญหาและแนวทางแก้ไข. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
ภณิดา จิตนุกูล. (2551). ลักษณะข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาภาษาไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. คณาจารย์สาขาวิชาภาษาไทย. (2557). การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
วิภาวรรณ อยู่เย็น. (2544). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: บริษัทเท็กซ์แอนด์เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.
ศรีจันทร์ วิชาตรง. (2542). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาสถาบันราชภัฏพระนคร
ปีการศึกษา 2540. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
สนม ครุฑเมือง. (2557). คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย: การวิเคราะห์จากการตรวจผลงานการสอน. วารสารการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง, 7(1), (42-55).