ภาวะผู้นำทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ

Main Article Content

วีรวิชญ์ ปิยนนทศิลป์
ณัฏฐพร จักรวิเชียร

บทคัดย่อ

ทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในองค์การคือ “ทรัพยากรมนุษย์” เป็นนิยามที่นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้บริหารองค์การด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การทั้งในประเทศและต่างประเทศได้กล่าวไว้หลายท่าน ข้อพิสูจน์ดังกล่าวอาจไม่ได้เป็นความจริงทั้งหมด นั่นหมายถึงว่าทรัพยากรที่มีค่าในองค์การยังมีอีกหลายปัจจัยที่เป็นส่วนสำคัญในการทำให้องค์การประสบความสำเร็จ แต่สิ่งสำคัญที่สุดอีกประการหนึ่ง คือ ผู้บริหารองค์การที่ทำหน้าที่ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทั้งหมดขององค์การ ซึ่งจะเป็นผู้ที่กำหนดความสำเร็จขององค์การได้อย่างยั่งยืน ภาวะผู้นำทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ จึงเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินงานขององค์การให้บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การที่ตั้งไว้ โดยเฉพาะปัจจุบันสภาพแวดล้อมที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้เกิดการปรับเปลี่ยนไปตามสังคมโลกาภิวัตน์ทั้งด้านสังคม เทคโนโลยี เศรษฐกิจและการเมือง


ดังนั้นภาวะผู้นำทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์การเกิดการขับเคลื่อนและดำเนินการไปได้ในสภาวการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การยุคใหม่จะต้องมีลักษณะการเรียนรู้ ดังนี้ เรียนรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ ยุทธศาสตร์ภาวะผู้นำการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ การพัฒนาภาวะผู้นำทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ผู้นำและภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เกื้อจิตร ชีระกาญจน์. (2557). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจสมัยใหม่ (ปัจจุบันสู่อนาคต). วารสารสุทธิปรทัศน์, 28(86), 322-337.

จิระพงค์ เรืองกุน. (2556). การเปลี่ยนแปลงองค์การ: แนวคิด กระบวนการ และบทบาท ของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(1), 194-203.

ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2557). ภาวะผู้นำร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2560). ภาวะผู้นำทางการบริหาร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นุช สัทธาฉัตรมงคล และอรรถพล ธรรมไพบูลย์. (2559). ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 8(1), 167-182.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2556). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.

พยัต วุฒิรงค์. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในทศวรรษหน้า. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2544). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.

วิเชียร วิทยอุดม. (2553). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.

วีรวิชญ์ ปิยนนทศิลป์. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. เชียงใหม่: ปภาวีการพิมพ์.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2550). ภาวะความเป็นผู้นำ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

อภิรักษ์ ชาญศึก. (2561). ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. วารสารสันติศึกษาปรทัศน์ มจร,
6(1), 230-243.

Armstrong, M. (2006a). A Handbook of Human Resource Management Practice. London: Cambridge University Press.

Armstrong, M. (2006b). Strategic Human Resource Management a Guide to Action. London: Thomson-Shore.

Becerra-Fernandez, I. and Sabherwal, R. (2010). Knowledge Management Systems and Processes. United States: M.E. Sharpe.

Cameron, K. S. (2012). Positive leadership: Strategies for extraordinary performance. San Francisco: Berrett-Koehler Publishers.

Daly, J. L. (2012). Human Resource Management in the Public Sector Policies and Practices. New York: Talor and Francis Group.

Gibson, J. L., Ivancevich, J. M., and Donnelly, J. K. (1997). Organization Behavior Structure Process. (9th ed.). New York: McGraw-Hill.

Hitt., M. A., Ireland, R. D. and Hoskisson, R. E. (2007). Strategic Management Competiveness and Globalization. United States: Thomson Higher Education.

Hogfeldt, M., and Lindwall, L., (2018). Human Resource’ Role in and Agile Transformation. Gothenburg: Chalmers University of Technology.

Martin, V. (2006). Managing Projects in Human Resource, Training and Development. United States: Thomson-Shore.

Westover, J. H. (2014). Strategic Human Resource Management. United States: Utat Valley University.

Veenendaal, A. A. R. (2015). Enhancing Innovation at Work through Human Resource Management. Groningen: University of Twente.

Yukl, G. (2006). Leadership in Organization. New Jersey: Parson Education.

Yukl, G. (2013). Leadership in Organization. United States: Pearson Education.