การวิเคราะห์หนังสือบันเทิงคดีสำหรับเด็กที่ได้รับรางวัลระหว่างปี 2552- 2558

Main Article Content

NINGMIN LI
สนิท สัตโยภาส
ศรีวิไล พลมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหนังสือบันเทิงคดีสำหรับเด็กที่ได้รับรางวัลจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานระหว่างปี 2552-2558 ในด้านเนื้อหา ลักษณะการใช้ภาษา และคุณค่าของหนังสือ โดยใช้แบบตารางวิเคราะห์ข้อมูลเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหนังสือบันเทิงคดีสำหรับเด็กที่ได้รับรางวัลจำนวน 20 เรื่อง แล้วนำผลการศึกษามานำเสนอแบบพรรณนาวิเคราะห์


ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านเนื้อหาของหนังสือบันเทิงคดีสำหรับเด็กที่ได้รับรางวัลระหว่างปี 2552-2558 ส่วนใหญ่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักความผูกพันในครอบครัว การช่วยเหลือแบ่งปันให้กับผู้อื่น มีความซื่อสัตย์สุจริต กตัญญู รวมทั้งสอนให้รู้จักการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2) ลักษณะการใช้ภาษา หนังสือดังกล่าวจะใช้คำและประโยคที่ง่ายเหมาะสมกับเด็กวัย 6-11 ปี กล่าวคือใช้คำถูกต้องตามหลักไวยากรณ์  ใช้คำสั้น กระชับ สละสลวย และมีการใช้คำเพื่อเสริมสร้างภาพ อารมณ์และความรู้สึก ทำให้เด็กอ่านแล้วเข้าใจง่าย เกิดความสนุกสนาน
และ 3) ด้านคุณค่าพบว่ามี 3 ประเภทคือ 3.1) คุณค่าทางด้านความคิดสร้างสรรค์สอนให้เด็กมีจินตนาการ มีสติปัญญารอบรู้ ใช้ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแฝงความคิดเชิงคุณธรรมไว้อีกด้วย 3.2) คุณค่าทางด้านอารมณ์สอนให้เด็กรู้จักเข้าใจตนเองและผู้อื่น มองโลกในแง่ดี 3.3) คุณค่าทางด้านสังคม สอนให้เด็กรู้จักการทำงานเป็นทีม สอนให้มีการเรียนรู้ของการเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี และยังสอนให้รู้จักเอื้ออาทรต่อผู้อื่นอีกด้วย


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษตยา ณ หนองคาย. (2544). การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมสำหรับเด็กก่อนวัยรุ่นที่ได้รับรางวัล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522-2542. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ขวัญจิตต์ เนียมเกตุ. (2557). ตุ๊กตาของชาลี. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

เครือรัตน์ เรืองแก้ว. (2554). เรื่องของใบข้าว.กรุงเทพฯ: บรรณกิจ ๑๙๙๑.

จารุวรรณ อ่ำพันธุ์. (2543). การวิเคราะห์วรรณกรรมเด็กก่อนวัยรุ่นประเภทบันเทิงคดีที่ได้รับรางวัลในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติปี
พ.ศ. 2538-2542. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาไทยศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

โชติ ศรีสุวรรณ. (2556). พ่อครูครับผมจะเป็นเด็กดี. กรุงเทพฯ: มติชน.

ณิชา พีชวณิชย์. (2556). ตุ๊กตาแห่งความทรงจำ. กรุงเทพฯ: ห้องเรียน.

นวรัตน์ สีหอุไร. (2551). สายรุ้งหายไปไหน. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ ๑๙๙๑.

นวรัตน์ สีหอุไร. (2553). ตาลเดี่ยวยอดกตัญญู. กรุงเทพฯ: บริษัท บิ๊กบุ๊ด เซนเตอร์ จำกัด.

นำบุญ นามเป็นบุญ. (2556). ของขวัญแด่พระราชา. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.

นิธิมา คุณะดิลก. (2549). วรรณกรรมประเภทบันเทิงคดีสำหรับเด็กก่อนวัยรุ่นที่ได้รับรางวัลดีเด่นของคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ พ.ศ. 2530-2544. (ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ปรีดา ปัญญาจันทร์ และเกริก ยุ้นพันธ์. (2555). ของเล่นจากไม้. กรุงเทพฯ: แพรวเพื่อนเด็ก.

ปรีดา ปัญญาจันทร์ และสุดไผท เมืองไทย. (2557). ลุงโทนกับปืน. กรุงเทพฯ: คิดส์บวก.

พุงกลม. (2554). ก-ฮ เที่ยวงานวัด. กรุงเทพฯ: ประภาคารพับลิชชิ่ง.

เพนกวินตัวแรก. (2553). ดาวดวงนั้นของฉันคนเดียว. กรุงเทพฯ: พาส เอ็ดดูเคชั่น.

รัตนา คชนาท. (2557). เป็นแบบนี้ก็ดี ดี๊ ดี It’s Happy This Way. กรุงเทพฯ: แม็คเอ็ดดูเคชั่น.

รัตนา คชนาท. (2559). ความดีสีเหลืองส้ม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มูลนิธิเด็ก.

รัศมี เบื่อขุนทด. (2555). อลวนสี่ขา สองหมา สามแมว. กรุงเทพฯ: มติชน.

ลลิดา ศุภธนสินเขษม. (2551). การวิเคราะห์วรรณกรรม สำหรับเยาวชนที่ได้รับรางวัลแว่นแก้ว ปี พ.ศ. 2544-2547. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาไทยศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

วชิราพร สุวรรณศรวล. (2543). การสร้างหนังสือเสริมประสบการณ์ เรื่องสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

สองขา. (2554ก). เศษกระดาษ. กรุงเทพฯ: มติชน.

สองขา. (2554ข). ผ้าของพ่อ. กรุงเทพฯ: พาส แอท คิดส์.

สุนีย์ เลิศแสวงกิจ และพิศิษฐ์ กาญจนพิมาย. (2546). ห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ. กรุงเทพฯ: วังอักษ.

สุมาลี. (2552). ม็อกซ์ แมวมหัศจรรย์. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คทีน.

ส.พุ่มสุวรรณ. (2556). ท้องนา…ฟ้าสีสวย. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของ สกสค.

อธิษฐาน ปกป้อง. (2556). กระต่ายน้อยนอนไม่หลับ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มูลนิธิเด็ก.

อรอนงค์ โชคสกุล และศรีอัมพร ประทุมนันท์. (2544). การผลิตนวัตกรรมการเรียนการสอนการจัดทำหนังสือสำหรับเด็ก เล่ม 4. ชัยนาท: ชมรมพัฒนาความรู้ด้านระเบียบกฎหมาย.

อรเกษม รอดสุทธิ. (2555). เจ้าบุญหลง. กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ท เพรส.