การศึกษาเปรียบเทียบเรื่องขำขันไทยกับเรื่องขำขันจีน

Main Article Content

เยี่ยน เหมิง
สนิท สัตโยภาส
ขวัญใจ กิจชาลารัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างกันระหว่างเรื่องขำขันไทยกับเรื่องขำขันจีน โดยเปรียบเทียบในด้านเนื้อหา การใช้ภาษาและลักษณะสภาพสังคมและวัฒนธรรม  รวบรวมจากเอกสารที่เกี่ยวกับเรื่องขำขัน ระหว่างขำขันไทยจำนวน 50 เรื่อง กับขำขันจีนจำนวน 50 เรื่อง รวมจำนวน 100 เรื่อง


ผลการวิจัยพบว่า เรื่องขำขันไทยกับเรื่องขำขันจีนมีทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกัน ซึ่งเรื่องขำขันไทยมีเนื้อหาเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลมากที่สุด รองลงมามีเนื้อหาเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของบุคคล และอันดับสามมีเนื้อหาเกี่ยวกับการแสดงออกด้วยถ้อยคำ ส่วนเรื่องขำขันจีนมีเนื้อหาเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของบุคคลมากที่สุด รองลงมามีเนื้อหาเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลและอันดับสามมีเนื้อหาเกี่ยวกับการแสดงออกด้วยถ้อยคำ        ความแตกต่างกันคือเรื่องขำขันไทยมีเนื้อหาเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลมากที่สุด ส่วนเรื่องขำขันจีนมีเนื้อหาเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของบุคคลมากที่สุด


ในด้านวิธีการใช้ภาษาให้เกิดอารมณ์ขัน ทั้งเรื่องขำขันไทยและเรื่องขำขันจีนมีวิธีการเปรียบเทียบตามจินตนาการ การพูดบิดเบือน การใช้คำที่มีความหมายสองความหมาย การประชด การวางเค้าโครงเรื่องและการพูดอ้อม เรื่องขำขันไทยใช้วิธีการวางเค้าโครงเรื่องมากที่สุด รองลงมาใช้วิธีการประชด และอันดับสาม วิธีการพูดอ้อม ส่วนเรื่องขำขันจีนใช้วิธีการวางเค้าโครงเรื่องมากที่สุด รองลงมาใช้วิธีการใช้คำที่มีความหมายสองความหมาย และอันดับสามใช้วิธีการประชด การใช้ภาษาทั้งเรื่องขำขันไทยและเรื่องขำขันจีน มีความเหมือนกันคือวิธีการวางเค้าโครงเรื่องมากที่สุด


สำหรับด้านลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม ทั้งเรื่องขำขันไทยและเรื่องขำขันจีนที่ได้สะท้อนสภาพสังคมและความเชื่อมากที่สุด พบว่า สภาพสังคมทั้งคนไทยและคนจีนมีความเหมือนกันคือ นิยมเล่าถึงสภาพสังคม ด้านการเมือง การแต่งงาน การทำงาน และวัฒนธรรมความเชื่อของคนไทยจะมีความเชื่อเรื่องพุทธศาสนา การทำความดีย่อมได้รับผลดี คนจีนมีความเชื่อว่า การหลีกเลี่ยงการพูดถึงคำที่มีความหมายไม่ดีหรือเชิงลบจะเป็นมงคลแก่ตัวเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรศุภา ปล่องทอง. (2550). การศึกษาลักษณะภาษาสื่ออารมณ์ขันในมุมขำขันของหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะและมหาสนุก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).

เจิน, จิ้งหยู. (2555). ศึกษาวัฒนธรรมทางภาษาการเปรียบเทียบเรื่องขำขันในภาษารัสเซียและภาษาจีน. Science & Technology Vision, 31, 182-193.

จู, หง. (2554). หนังสือ ซุปเปอร์เฮฮาเรื่องขำขัน. ปักกิ่ง: สำนักพิมพ์ภาพวาดประเทศจีน.

โจว, ลี่ลี่. (2557). การวิเคราะห์ภาษาในเรื่องขำขัน. Over English, 1, 241-243.

พัชโรธร สุขศรี. (2557). การวิเคราะห์สัมพันธสารเรื่องขำขันในนิตยสารคู่สร้างคู่สม. (วิทยานิพนธ์ปริญญา
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

วาทินี ธีรภาวะ. (ม.ป.ป.). หนังสือคลาสสิคโจ๊ก Round 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วงศ์สว่างพับลิชชิ่ง แอนด์ พริ้นติ้ง จำกัด.

วาทินี ธีรภาวะ. (ม.ป.ป.). หนังสือคลาสสิคโจ๊ก Round 6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วงศ์สว่างพับลิชชิ่ง แอนด์ พริ้นติ้ง จำกัด.

วิภาพร กล้าวิกย์กิจ. (2548). อารมณ์ขันในข้อความสำเร็จรูป. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒิ).

หยาง, หยาง. (2555). วิธีและผลกระทบของการเกลาสำนวนภาษาในเรื่องขำขัน. Journal of Taiyuan Normal University, 2, 111-113.

หวัง, ลี่น่า. (2549). การศึกษาการเปรียบเทียบอารมณ์ขันในภาษาจีนและภาษาเยอรมัน–เรื่องขำขันจีนและเรื่องขำขันเยอรมัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาภาษาและวรรณกรรมเยอรมัน Northwestern Polytechnical University).

jokeji.cn (2011ก). เทศกาลตรุษจีน. สืบค้นจาก http://www.jokeji.cn/

jokeji.cn (2011ข). เสือตัวหนึ่ง. สืบค้นจาก http://www.jokeji.cn/