การศึกษาวัจนกรรมที่ปรากฏในบทสนทนาของชาวต่างประเทศที่ฝึกพูดภาษาไทย

Main Article Content

รังสินีย์ ซื่อเกียรติขจร
นราวัลย์ พูลพิพัฒน์
สนิท สัตโยภาส

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการศึกษาวัจนกรรมที่ปรากฏในบทสนทนาของชาวต่างประเทศที่ฝึกพูดภาษาไทยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประเภทการใช้วัจนกรรมที่ปรากฏอยู่ในบทสนทนาของนักศึกษาต่างประเทศที่เรียนภาษาไทย 2) เพื่อศึกษาลักษณะของความร่วมมือในการสนทนาของนักศึกษาต่างประเทศที่เรียนภาษาไทย ผลการวิจัยพบว่า
1. ประเภทการใช้วัจนกรรมในบทสนทนาของนักศึกษาต่างประเทศ มีจำนวน 4 กลุ่ม โดยเรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ วัจนกรรมการแสดงความรู้สึก วัจนกรรมกลุ่มผูกมัด วัจนกรรมกลุ่มบอกกล่าว และวัจนกรรมกลุ่มชี้นํา ส่วนวัจนกรรมกลุ่มแถลงการณ์ไม่พบในบทสนทนา
2. ลักษณะความร่วมมือในการสนทนาของนักศึกษาต่างประเทศที่เรียนภาษาไทยไม่เป็นไปตามหลักความร่วมมือของเฮอร์เบิร์ต พอล ไกรซ์ มีการละเมิดหลักการสนทนา เนื่องจากนักศึกษาไม่เข้าใจความหมายของคำศัพท์อย่างแท้จริง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญสำหรับการสื่อสารของนักศึกษาต่างประเทศ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จินดารัตน์ ธรรมรงวุทย์. (2553). ข้อบกพร่องเชิงวัจนปฏิบัติศาสตร์ในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม: กรณีศึกษาการใช้ภาษาไทยของผู้พูดชาวอเมริกันและชาวจีน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาภาษาศาสตร์เพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ดุษฎี กองสมบัติ. (2549). ป ระสบการณ์การสอนภาษาไทย ณ มหาวิทยาลัยชนชาติกว่างซี. สืบค้นจาก http://gotoknow.org/blog/academicpapers/152321

ธีระ รุ่งธีระ และอินธิสาร ไชยสุข. (2552). ซ่อนอยู่ในคำทุกคำเสมอ แววตาฉันพูดอะไร: วัจนปฏิบัติศาสตร์กับการถอดรหัสรักของคุณหญิงกีรติใน ข้างหลังภาพ เดอะมิวสิคัล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชาวรรณคดี, และฝ่ายวิจัย
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ศูนย์สังคีตศิลป์.

นิภา กู้พงษ์ศักดิ์. (2555). ปัญหาการใช้ภาษาไทยของนักศึกษาต่างชาติ: กรณีศึกษานักศึกษาจีน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วรพงศ์ ไชยฤกษ์. (2549). ลักษณะการเรียนรู้และกลวิธีการเรียนรู้ของชาวต่างประเทศที่เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

เอมอร ชิตตะโสภณ. (2527). ประวัติและวิวัฒนาการของเรื่องในวรรณคดีไทย: วิเคราะห์แนวภาษาศาสตร์เชิงสังคม (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ.

ฮามัม สุปรียาดี. (2548). การศึกษาลักษณะวัจนกรรมที่ปรากฏในเว็บโฆษณาไทย-อินโดนีเซียตามแนววัจนปฏิบัติ ศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาภาษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

Grice, P. (1975). Logic and conversation. In Peter Cole and Jerry Morgan (eds.), Syntax and Semantics 3. New York: Academic press.

Searle, J. (1969). Speech acts. Cambridge: Cambridge University Pess.

Su, N. C., Rahim, N. A., & Hamzah, Z. A. Z. (2009). Problems in learning the Thai language as a foreign language. The International Journal of the Humanities, 6(12), 9-18.