อัตลักษณ์ของคนล้านนาจากบทเพลงลูกทุ่งคำเมืองที่ขับร้องโดย อบเชย เวียงพิงค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของคนล้านนาและบทบาทหน้าที่ของเพลงลูกทุ่งคำเมือง ที่ขับร้องโดยอบเชย เวียงพิงค์ แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเพลงลูกทุ่งคำเมืองที่ขับร้องโดยอบเชย เวียงพิงค์ จากผลงานเพลงชุดที่ 1- ชุดที่ 4 จำนวน 43 เพลง โดยใช้เครื่องมือในงานวิจัยคือ แบบบันทึกการวิเคราะห์
อัตลักษณ์ แบบบันทึกการวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ และเสนอรายงานโดยการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์ของคนล้านนาในเพลงลูกทุ่งคำเมืองมี 8 อัตลักษณ์ อัตลักษณ์ที่โดดเด่น คือ
อัตลักษณ์ด้านภาษา รองลงมา คือ อัตลักษณ์ด้านประเพณี อัตลักษณ์ด้านอุปนิสัยของคนล้านนา อัตลักษณ์ของสตรีล้านนา อัตลักษณ์ด้านสถานที่ อัตลักษณ์ด้านอาหาร อัตลักษณ์ด้านดนตรี และอัตลักษณ์ด้านการประกอบอาชีพ ตามลำดับ ส่วนบทบาทหน้าที่ของเพลงลูกทุ่งคำเมือง พบว่ามี 4 บทบาท บทบาทหน้าที่ที่โดดเด่น คือ บทบาทหน้าที่ด้านการอธิบายกำเนิดอัตลักษณ์ของกลุ่มชนและพิธีกรรม รองลงมาคือ บทบาทหน้าที่ด้านการเป็นกระจกส่องให้เห็นวัฒนธรรม บทบาทหน้าที่ด้านการรักษาแบบแผนพฤติกรรมของบุคคล และบทบาทหน้าที่ด้านความสนุกสนานบันเทิง ตามลำดับ
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
ขวัญใจ บุญคุ้ม. (2559). วัจนลีลาและบทบาทหน้าที่ของเพลงลูกทุ่ง. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่).
ฐิตินัน บ.คอมมอน. (2555). เพลงและอัตลักษณ์วัฒนธรรมชุมชน: จรัล มโนเพ็ชร กับบทบาทของนักรบทางวัฒนธรรมดนตรีล้านนา. นิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 6(2), 145-165.
พรพรรณ วรรณา. (2542). เพลงคำเมือง. ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทยธนาคารไทยพาณิชย์.
ไพฑูรย์ มีกุศล. (2551). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ ป.6 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.
ยุวรี กุศล. (2554). อัตลักษณ์ชาวอีสานจากบทเพลงลูกทุ่งที่ขับร้องโดย ต่าย อรทัย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่).
รังสรรค์ จันต๊ะ. (2544). เอกสารคำสอนคติชนวิทยา. เชียงใหม่: สิรินาถการพิมพ์.
รัชนี กาวิ. (2558). นิทาน ตำนาน ภูมินามและประวัติศาสตร์: บทบาทหน้าที่ คุณค่าและอัตลักษณ์ของ ชุมชนท่าผาปุ้ม ตำบลท่าผาปุ้ม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ศิราพร ณ ถลาง. (2552). ทฤษฎีคติชนวิทยา วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุกัญญา เชาว์น้ำทิพย์. (2549). อัตลักษณ์ของชาวล้านนาในนวนิยายของมาลา คําจันทร์. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
สุรพล ดำริห์กุล. (2545). แผ่นดินล้านนา. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
อารี ถาวรเศรษฐ์. (2546). คติชนวิทยา. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.
ศุภกิตติ์ คุณา. (ม.ป.ป.). อบเชย เวียงพิงค์ นักร้องเสียงอมตะ ตำนานเพลงปี๋ใหม่เมือง. สืบค้นจาก https://www. archive.is/