สถานภาพและบทบาทของผู้หญิงจีนในหนังสือรวมเรื่องสั้น “เสียงเพรียกที่กลบเร้น จากแผ่นดินใหญ่”
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานภาพและบทบาทของผู้หญิงจีนในหนังสือรวมเรื่องสั้น“เสียงเพรียกที่กลบเร้น จากแผ่นดินใหญ่” จากตัวละครหลักที่มีบทบาทสำคัญ จำนวน 6 เรื่องจาก 15 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า
- สถานภาพที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด ได้แก่ สถานภาพในครอบครัว พบว่า
1.1 สถานภาพของลูกสาว มีบทบาทในการเคารพเชื่อฟังคำสั่งของพ่อแม่และบทบาทในการตอบแทนบุญคุณของพ่อแม่ บทบาทในการช่วยทำงานภายในครอบครัว
1.2 สถานภาพของภรรยา มีบทบาทในการดูแลเอาใจใส่ ให้เกียรติ เคารพและเชื่อฟังสามี ยอมรับบทบาทการเป็นหัวหน้าครอบครัวของสามี บทบาทในการตั้งครรภ์เพื่อมีบุตร
1.3 สถานภาพของแม่ บทบาทในการดูแลและเอาใจใส่ลูก ส่งเสริมให้ลูกประสบความสำเร็จในชีวิต
1.4 สถานภาพของผู้หญิงของครอบครัว มีบทบาทให้ชาย “ใช้” เป็นสิ่งรองรับความต้องการทางเพศของผู้ชายในครอบครัวและเพื่อการมีลูก
- สถานภาพทางสังคม
2.1 สถานภาพทางสังคมก่อนยุคการปฏิรูปและการเปิดประเทศ ผู้หญิงจีนไม่มีสถานภาพทางสังคม เนื่องจากความเชื่อและขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมานานและให้ความสำคัญต่อผู้ชายในการทำงานนอกบ้านและเป็นผู้นำครอบครัว แต่ผู้หญิงมีบทบาทในการทำงานบ้าน ดูแลสามีและลูก
2.2 สถานภาพทางสังคมหลังยุคการปฏิรูปและการเปิดประเทศ ผู้หญิงจีนเริ่มมีสถานภาพและบทบาทสำคัญในสังคมมากขึ้น เนื่องจากมีการส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสในการศึกษาและได้รับการศึกษาที่สูงขึ้นทั้งชายและหญิงเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ซึ่งให้โอกาสผู้หญิงมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ และผู้หญิงสามารถประสบความสำเร็จในการทำงานเช่นเดียวกับผู้ชาย
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
บุณฑริก วิชาเจริญ. (2545). บทบาทของผู้นำกลุ่มสตรีระดับชุมชนท้องถิ่นภาคเหนือของประเทศไทยต่อการเรียกร้องสิทธิสตรี. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
ปิ่นหล้า ศิลาบุตร. (2551). สถานภาพและบทบาทของตัวละครหญิงในนวนิยาย. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปกร).
ปวีณา วิริยประไพกิจ. (2547). เสียงเพรียกที่กลบเร้น จากแผ่นดินใหญ่. กรุงเทพฯ: บริษัทกายมารุต จำกัด.
วรพล ผสมทรัพย์ และอนงค์นาฏ เถกิงวิทย์. (2553). การเมือง ประวัติศาสตร์ สตรี : ภาพลักษณ์จักรพรรดินีซูสีในนวนิยาย เรื่อง เอ็มเพรส ออร์คิด และ เดอะ ลาสท์ เอ็มเพรส. ใน การประชุมวิชาการครั้งที่ 7 สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. หน้า 1438-1446. 7-8 ธันวาคม 2553 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม.
สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โครงการสตรีและเยาวชนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2554). รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบทบาท สถานภาพสตรี และความเสมอภาคระหว่างชายหญิง. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2549). บทสรุปรวมผลงานวิจัยด้านสตรี. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
สุภา สกุลเงิน. (2545). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หลัง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ในทัศนะของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน: ศึกษา เฉพาะกรณีอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. (วิทยานิพนธ์ศิลป
ศาสตรมหาบัณฑิต, สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง).
Pornphanh. (2555). ที่มาเท้าดอกบัว ประเพณีรัดเท้าของสาว จีนโบราณ. Retrieved from https://teen.mthai.com/variety/
49551.html
Wikipedia the free encyclopedia. (2560ก). ประเทศจีน. Retrived from https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99
Wikipedia the free encyclopedia. (2060ข). Xinran. Retrived from https://en.wikipedia.org/wiki/Xinran